ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อ้างอิงเรื่อง "เทวาลัยคเณศร์"


    สมควรนำรายละเอียดมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมจากเรื่องเดิม
    เพื่อจะได้หาโอกาสไปไหว้สักการะกันนะครับ

    เทวาลัยพระคเณศ พระราชวังสนามจันทร์ : อีกสถานที่ซึ่งผู้ศรัทธาไม่ควรพลาด
    [​IMG]



    โดยเทวาลัยพระคเณศร์ตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางของพระราชวังสนามจันทร์ แวดล้อม โดยหมู่อาคารพระที่นั่งต่างๆ โดยเทวาลัยคเณศร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระผู้ทรงโปรดศิลปวิทยาการ และการประพันธ์เป็นพิเศษ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยคเณศร์ไว้ ณ ที่อันเป็นศูนย์กลางของพระราชวัง สำหรับใช้ประกอบพิธีบวงสรวง และเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเมื่อมอง จากพระที่นั่งพิมานปฐมก็จะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์ และพระที่นั่งพิมาน ปฐมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันครับ

    สำหรับท่านใดที่ยังไม่มีโอกาสได้ไป ก็ขอแนะนำให้มาสักการะที่เทวาลัยแห่งนี้สักครั้งนะครับ รับรองว่าบรรยากาศดีจริงๆ เพราะนอกจากจะได้สักการะพระคเณศร์ แล้วยังได้ชื่นชมความงามของพระที่นั่งต่างๆภายในพระราชวังสนามจันทร์แห่งนี้ด้วยครับ

    พระคเณศที่พระราชวังสนามจันทร์แห่งนี้ กล่าวกันว่าเป็นเทวรูปพระคเณศที่หล่อ จากสำริดขนาดใหญ่องค์แรกที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยมีหลักฐาน บันทึกถึงฤกษ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดเทวาลัยแห่งนี้ว่าตรงกับ "วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2461 ตรงกับเดือน 3 ขึ้น 1 ค่ำ เวลา 4 นาฬิกา กับ 52 นาที 57 วินาที หลังเที่ยง ขอพระราชทานอัญเชิญเสด็จทรงเจิมเทวรูปพระพิฆเนศวร แล้วเชิญ ขึ้นประดิษฐาน ณ หอแก้วเป็นปฐมฤกษ์ ไปจนถึงเวลา 5 นาฬิกากับ 40 นาที 57 วินาที หลังเที่ยง เป็นที่สุดแห่งพระฤกษ์"

    จากวันนั้นถึงวันนี้นับเวลาย้อนไปได้กว่า 90 ปี ที่เทวาลัยพระคเณศตั้งอยู่เพื่อ เป็นศูนย์กลางของพระราชวังและเป็น
    สิริมงคล สูงสุดแก่ผู้ศรัทธาทซึ่งเดินทางมาสักการะองค์ท่าน ณ พระราชวังสนามจันทร์แห่งนี้

    [​IMG]
    (ภาพที่สองนี้สังเกตดีๆจะเห็นว่าด้านหลังเทวลัยจะเป็นขององค์พระปฐมเจดีย์ ด้วยเทวาลัยสร้างอยู่ตรงกับระดับกึ่งกลางของพระเจดีย์พอดีเลยครับ)


    [​IMG]
    (องค์พระคเณศที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์ประธานแห่งพระราชวังสนามจันทร์)

    อ้างอิงข้อมูลจาก :

    - หนังสือคเณศปกรณ์ ของ อ.กิตติ วัฒนมหาตม์
    -
    www.palaces.thai.net


    *แหล่งที่มา www.oknation.net
     
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ฟันเทียมพระราชทาน

    วันพุธ ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 0:00 น




    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]




    มหากาพย์คืนยิ้มคนไทย

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธานให้ประชาชนชาวไทย อยู่ดีมีรายได้ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศอย่างคุ้มค่า ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นตัวอย่างผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ พระองค์ทรงเห็นปัญหาความเดือดร้อนของคนไทยไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ สลักสำคัญเท่ากัน เรื่องเล็กอย่าง “โรคฟัน” ที่บั่นทอนสุขภาพร่างกายได้ทั้งองค์รวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงมองข้าม โดยพระราชทานพระราชดำรัสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาหนทางช่วยเหลือราษฎรยากจนที่มีปัญหาเรื่องโรคฟัน และไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร

    จนเป็นที่มาของ หน่วยทันตกรรม พระราชทานเคลื่อนที่ หรือทันตกรรมชนบท ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2513 เป็นรถทำฟันเคลื่อนที่ ระยะแรกมีเพียงบริการงานถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ยังไม่มีบริการใส่ฟันเทียม และพัฒนาเทค
    โนโลยีทันสมัยเกี่ยวกับด้านฟันเป็นลำดับ จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในครั้งนั้นน้อมนำให้เกิดโครงการฟันเทียมพระราชทานในทุกวันนี้ ทำให้คนไทยกว่าแสนคนที่ขาดทุนทรัพย์ ได้ใส่ฟันฟรี

    ในเรื่องนี้ ศ.(พิเศษ) ทพญ.ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน และทันตแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ถ่ายทอดไว้ในหนังสือ “ในหลวงกับงานทันตกรรมว่า” ... เมื่อปี 2513 ภายหลังจากที่ทำพระทนต์ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งถามว่า เวลาที่พระองค์ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน มีทันตแพทย์มาช่วยดูแลรักษา แล้วราษฎรที่อยู่ห่างไกล มีหมอช่วยรักษาหรือเปล่า มีรับสั่งว่า “โรคฟัน เป็นโรคของทุกคน การที่จะให้ราษฎรผู้ยากไร้และห่างไกลความเจริญต้องทิ้งท้องไร่ท้องนา เข้ามารักษาในเมือง คงเป็นไปไม่ได้ น่าที่จะมีทันตแพทย์เดินทางไปดูแลเป็นครั้งคราว” ซึ่ง พระราชดำรัสในครั้งนั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นงานทันตกรรมเคลื่อนที่ โดยออกบริการครั้งแรก ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์

    พร้อมกันนี้ ศ.(พิเศษ) ทพญ.ท่านผู้หญิงเพ็ชรา ให้สัมภาษณ์นสพ.เดลินิวส์ เมื่อปี 2549 ไว้ว่า ในหลวงมีพระราชดำรัสในปี 2547 ว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” พระองค์ท่านเข้าใจเรื่องนี้อย่างชัดเจน ตอนที่ตั้งหน่วยทันตกรรมพระราชทาน พระองค์ไม่คิดจะทำยาวนานจนถึงขณะนี้ 35 ปีแล้ว พระองค์ตรัสว่า ทำเป็นตัวอย่าง บ้านเมืองเขาเห็นจะได้นำไปเป็นโปรเจคท์นำร่อง

    ปัจจุบันหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ยังออกให้บริการประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารอย่างสม่ำเสมอ ขนานคู่ไปกับการทำงานของหน่วยงานทำงานเป็นภาคีร่วมกัน อาทิ มูลนิธิพอ.สว. กระทรวงสาธารณสุข โดยกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมและหน่วยงานสำนักงานหลักประกันสุขภาพ สปสช. ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมด้วยคณะทันตแพทยศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เริ่มดำเนินโครงการฟันเทียมพระราชทาน เมื่อปี 2548 หลังน้อมรับกระแสพระราชดำรัสในปี 2547

    ด้าน ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย ผู้ อำนวยการกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เล่าว่า ในช่วงเปิดโครงการปี 2548 มีทันตแพทย์น้อยรายที่มีความรู้ความสามารถในการใส่ฟัน จำเป็นต้องอบรมทันตแพทย์เพิ่มเติม โดยทดลองทำโครงการนำร่องใส่ฟันเทียมใน จ.อุบลราชธานีก่อน หลังได้ผลจนเป็นที่พอใจ จึงเริ่มเปิดโครงการระยะที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน โอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 ต่อเนื่องมาถึงครั้งที่ 3 ระหว่างปี 2549-2550 โดยเลือกผู้สูงอายุวัย 60 ปี ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีฟันหายไปมากกว่า 16 ซี่ เข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

    จากการสำรวจของกรมอนามัยมีผู้สูงอายุต้องการใส่ฟัน 300,000 ราย ขณะนี้ได้รับการใส่ฟันไปแล้ว 160,000 ราย และยังรณรงค์จัดบริการในท้องถิ่นทุรกันดารร่วมกับหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2554 โครงการฟันเทียมพระราชทานได้ดำเนินการต่อ มีเป้าหมายบริการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุอีก 90,000 ราย (ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี)

    นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเสริมว่า โครงการฟันเทียมได้พัฒนาเทคนิคการใส่ฟันให้เหมาะสมกับคนไทย โดยใช้เวลามาพบแพทย์แค่ 3-4 ครั้ง จากระบบปกติทั่วไปที่ใช้เวลา 6-7 ครั้ง ..........








    * www.dailynews.co.th
     
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ....ระหว่างทางของการดำเนินโครงการฟันเทียมพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยและทรงติดตามการทำงานของคณะแพทย์ เมื่อครั้งหนึ่งที่พระองค์ทรงทราบว่า เครื่องมือที่ใช้สำหรับอุดฟันที่มีอยู่ ไม่สามารถใช้กับคนไข้ได้จำนวนมาก ๆ จึงมีรับสั่งว่า “ทำไมไม่คิดทำเครื่องมือใช้เอง ให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง เมื่อทำได้ดีแล้ว ควรนำไปประกวดที่สภาวิจัยแห่งชาติ ถ้าได้รับรางวัล จะได้ส่งไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีสภาพบ้านเมืองคล้ายเรา”

    รศ.ทพ.ดร.ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล ผู้อำนวยการศูนย์ทันตนวัตกรรม หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสกับแพทย์ประจำพระองค์ ท่านผู้หญิงเพ็ชราว่า รากฟันเทียมใช้งานได้ดี ทำอย่างไรจะทำให้ประชาชนของพระองค์ได้ใช้ได้ด้วย ซึ่งขณะนั้นรากฟันเทียมมีราคาสูงมากประมาณ 1 แสนบาทต่อซี่ฟัน

    จากพระราชกระแสแสดงถึงความ ห่วงใยต่อพสกนิกรในครั้งนั้น เมื่อมีการนำมาถ่ายทอดสู่คณะทันตแพทย์ ได้ขยายผลให้เกิดการคิดค้นรากฟันเทียมโดยใช้วัสดุในประเทศเพื่อลดค่าใช้จ่าย พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง สามารถนำมาใช้กับคนไข้ โครงการฟันเทียมพระราชทาน กรณีประสบปัญหาเหงือกแบนราบ ใส่ฟันเทียมแล้วยึดไม่อยู่ ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้อยู่ภายใต้โครงการรากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 เริ่มโครงการตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549 จนถึงปี 2554 ตั้งเป้าใส่รากฟันเทียมให้ได้ 10,000 คน

    ผู้อำนวยการศูนย์ทันตนวัตกรรมฯ บอกอีกว่า ปกติรากฟันเทียมสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาคิดเป็นมูลค่าแล้วปีละ 10,000 ล้านบาท แต่คนไทยสามารถคิดค้นได้โดยโรง งานที่ผลิตเป็นกลุ่มวิศวกรที่จงรักภักดีร่วมกัน ผลิตออกมาขายให้กับกระทรวงสาธารณสุขในราคาที่ถูกมาก เรียกว่าแทบจะไม่มีกำไร ซึ่งในขั้นต้นจะผลิตเพื่อโครงการนี้ก่อน ในอนาคตคนไทยจะมีสิทธิเข้าถึงรากฟันเทียมราคาถูกนี้ด้วย

    “มีแต่ประเทศไทยเท่านั้นในโลกที่ทำรากฟันเทียมให้กับประชาชนฟรี โดยความร่วมมือของทันตแพทย์ทั่วประเทศตอนนี้ปลูกรากฟันเทียมไปแล้ว 1,000 ราย”

    ผู้อำนวยการศูนย์ทันตนวัตกรรมฯ ยังบอกเล่าต่อว่า ภายหลังที่นำรากฟันเทียมนี้ไปใช้กับประชาชน คณะผู้จัดทำ (สวทช., คณะทันตแพทย์ จากจุฬาลงกรณ์ มหิดล เชียงใหม่) ได้ขอพระราชทานชื่อรากฟันเทียมจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ตรัสว่า ถามกะทันหัน ตอนนี้ยังคิดไม่ออก ให้ชื่อว่า “ฟันยิ้ม” เพราะรูปรากฟันเทียมเมื่อเอกซเรย์คล้ายกับรูปปากยิ้ม พระองค์ท่านทรงทราบว่าการฝังรากฟันเทียมต้องผ่าตัด ชื่อที่ฟังแล้วดีทำให้คนไข้คลายความกลัวลงได้ และเมื่อใช้งานแล้วคนใช้ก็จะยิ้มอย่างมีความสุข

    เกือบ 40 ปีแล้วที่โครงการฟันเทียมพระราชทานเข้ามาช่วยสร้างสุขกับช่องปาก คืนรอยยิ้มให้กับพสกนิกรชาวไทย ก่อเกิดเทคโนโลยีนวัตกรรมมากมายเกี่ยวกับเรื่องราวของการรักษาฟัน ยังประโยชน์แก่วงการทันตแพทย์และประชาชนชาวไทยหลายสิบล้านคน อันมีจุดกำเนิดมาจากพระราชดำรัส และพระราชปฏิสันถารไม่กี่ประโยค ราวกับมหากาพย์ทางทันตกรรมอันยิ่งใหญ่ ที่ยังไม่สิ้นสุด.


    พรประไพ เสือเขียว


    * www.dailynews.co.th

    ......................................................

    ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
    นบพระภูมิบาล บุญญะดิเรก
    เอกบรมจักริน พระสยามินทร์
    พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
    ........
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์ระฆังแบบไม่มีซุ้มทิศที่วัดวรเชษฐาราม

    [​IMG]




    วัดวรเชษฐาราม มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานของวัดเจดีย์องค์ที่สร้างขึ้นครั้งแรก ประกอบด้วยฐานเขียงรองรับฐานบัว ๑ ชั้นถัดขึ้นไปน่าจะเป็นมาลัยลูกแก้ว ซ้อนกัน ๓ ชั้น บัวปากระฆัง องค์ระฆังเตี้ยบัลลังก์สี่เหลี่ยมมีเสาหานรองรับปล้องไฉนและปลีที่หักลงแล้วระเบียบของเจดีย์ทรงระฆังดังกล่าวปรากฏมาแล้วอย่างน้อยเมื่อ พ.ศ.๑๙๘๑ที่เจดีย์ประธานและเจดีย์ราย (องค์ในซึ่งถูกห่อหุ้มในคราวปฏิสังขรณ์) วัดมเหยงคณ์ ปรากฏต่อมาที่วัดพระศรีสรรเพชญ์สร้าง พ.ศ. ๒๐๓๕ที่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ยังพบหลักฐานของเจดีย์ทรงระฆังแบบมีซุ้มทิศเจดีย์ประธาน ๓ องค์ และเจดีย์รายองค์มุมทั้ง ๔ องค์) แบบไม่มีซุ้มทิศเจดีย์ราย เชื่อว่าเป็นการก่อสร้างครั้งเดียวกัน ดังนั้นเจดีย์ทรงกลมทั้ง ๒แบบจึงน่าจะมีวิวัฒนาการร่วมกันมาหลังจากนั้นเจดีย์ทรงระฆังแบบไม่มีซุ้มทิศปรากฏว่ามีการก่อสร้างเป็นเจดีย์รายองค์หนึ่งด้านหลังวัดมหาธาตุซึ่งน่าจะเป็นงานก่อสร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองคราวปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุด้วยเหตุนี้เจดีย์ประธานวัดวรเชษฐารามจึงน่าจะมีอายุการก่อสร้างระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่๒๐ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ได้ ดังนั้นวัดวรเชษฐารามจึงอาจเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๔๘ หรืออาจจะสร้างหลังจากนั้น

    [​IMG]

    เจดีย์ระฆังแบบไม่มีซุ้มทิศ เป็นเจดีย์รายวัดมหาธาตุ สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


    วัดวรเชษฐ์ กับ วัดวรเชษฐาราม วัดไหนสร้างก่อนสร้างหลัง ต้องยึดหลักศิลปขาสิงห์ที่เกิดนิยมหลังจากการสร้างวัดไชยวัฒนารามแล้ว



    สันนิษฐานตามหลักฐานการสร้าง ดังนี้

    วัดใหญ่ชัยมงคล เจดีย์เล็กข้างใน สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะมาสร้างกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดเจ้าพญาไท

    วัดวรเชษฐ์ สร้างสมัยพระเจ้าอู่ทอง ในปี ๑๙๐๐ในสถานที่เผาเจ้าแก้วเจ้าไท เดิมใช้ชื่อวัดป่าแก้ว และคาดว่ามีการพังทลายของพระปรางค์ลงมาครั้งหนึ่ง (คล้ายวัดมหาธาตุที่พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม)

    วัดมหาธาตุ สร้างในสมัยพระราเมศวร ปี พ.ศ. ๑๙๒๗ พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม บูรณะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

    วัดวรเชษฐ์ สร้างพระปรางค์ ขึ้นใหม่บนฐานเดิม แทนองค์เก่าที่พังทลายลงมา ในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ และสร้างเจดีย์ทรงระฆังไม่มีซุ้มทิศ เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์คู่หน้าวัด ขยายฐานไพทีออกไปอีกให้กว้างขวางกว่าเดิม คงพระอุโบสถไว้ที่ด้านทิศตะวันตก สมเด็จพระเอกาทศรถให้ชื่อวัดป่าแก้วนี้ใหม่ว่า วัดวรเชษฐ์

    วัดไชยวัฒนาราม สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ในปี ๒๑๗๓ หลังจากการสร้างวัดนี้แล้ว ฐานเจดีย์แบบบัวคว่ำบัวหงายเริ่มหายไป กลายเป็นฐานขาสิงห์ในยุคหลังจากนี้

    วัดมหาธาตุ ได้รับการซ่อมแซมโดยพระเจ้าปราสาททอง ปี พ.ศ. ๒๑๗๖ มีการสร้างเจดีย์รายแบบเดียวกับที่วัดวรเชษฐาราม

    วัดวรเชษฐาราม สร้างโดยพระเจ้าปราสาททอง น่าจะใกล้เคียงกับที่บูรณะวัดมหาธาตุ คือปี พ.ศ. ๒๑๗๖ และใช้ศิลปขาสิงห์กับการก่อสร้างเจดีย์คู่หน้าวัด

    วัดใหญ่ชัยมงคล สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่โดยการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ครอบเจดีย์องค์เล็กไว้ เดิมชื่อวัดเจ้าพญาไท

    เหตุที่พระเจ้าปราสาททองสร้างเจดีย์วัดเชษฐาราม เพราะว่าพระองค์ท่านได้ปราบดาภิเษกสมเด็จพระเชษฐาธิราช จึงสร้างเจดีย์ถวายแต่สร้างหลังจากที่สร้างวัดไชยวัฒนารามในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ และวัดชุมพลนิกายาราม ปี พ.ศ. ๒๑๗๕ จึงมาสร้างให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช ปี พ.ศ. ๒๑๗๖ พร้อมๆกับการซ่อมพระปรางค์วัดมหาธาตุในปีเดียวกันนั้น

    มองอย่างง่ายๆ ก็คือ วัดวรเชษฐ์ สร้างก่อนวัดวรเชษฐาราม โดยมีวัดไชยวัฒนารามเป็นเส้นแบ่งเวลาของศิลปะการก่อสร้างของทั้งสองวัดที่สับสนกันอยู่นั่นเอง



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เมื่อพระเจ้าปราสาททองสร้างวัดไชยวัฒนารามเสร็จ ก็อัญเชิญสมเด็จพระพนรัตน์จากวัดป่าแก้วมาจำพรรษาที่วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งทั้งสองวัดเป็นวัดที่ไม่ไกลกัน แต่วัดเจ้าพระญาไท อยู่อีกด้านของพระนคร กล่าวได้ว่าวัดไชยวัฒนารามกับวัดเจ้าพระญาไท(วัดใหญ่ชัยมงคล) เป็นวัดที่อยู่ไกลกัน ไม่น่าจะเรียกได้ว่าสองวัดนี้อยู่ใกล้กัน

    ในบันทึกของวันวลิต ปี พ.ศ. ๒๑๗๙ หลังจากสร้างวัดไชยวัฒนารามได้สามปี ได้มีบันทึกถึงพระราชพิธีเสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง บรรยายถึงกระบวนเรือและวัดที่ทรงไปบำเพ็ญพระราชกุศล

    พงศาวดาร ฉบับ พระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) เข้าใจว่าตรงกับเหตุการณ์เมื่อครั้งพระเจ้าปราสาททอง โปรดฯให้ทำการบูรณะพระปรางค์วัดมหาธาตุที่ทลายลงมาก่อนหน้านี้ เมื่อ จ.ศ. ๙๙๕ ปีระกา (พ.ศ. ๒๑๗๖) ความว่า

     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ด้วยบุญญาพระบารมี พ่อนี้ปกเมือง

    .....ด้วยพลังใจภักดิ์ของพสกที่พร้อมพรั่ง ณ ลานโรงพยาบาลศิริราช มิเว้นวาย ขณะนี้ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว เมื่อวานซืนนี้ (๑ ก.พ.) พระองค์ท่านเสด็จออก ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะผู้พิพากษา

    เป็นวัน "มหาประชาปีติ" พร้อมเพรียงกันอีกวันหนึ่งจริงๆ!

    เพราะอะไรน่ะหรือครับ ก็เพราะว่าทุกคนที่นั่งเฝ้าอยู่หน้าจอโทรทัศน์ เห็นชัดกันทุกคนว่า สีพระพักตร์ และแววพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปล่งปลั่ง สมบูรณ์ สดใส อาจพูดได้ว่า "พระพักตร์พ่อ" ณ วันนี้ ประหนึ่งทอแสงทองแรกแห่งรุ่งสุริยะสาดส่องสู่ลูกคือพสก

    อาบผืนปฐพีไทย เป็นแสงให้ชีวิตใหม่อีกครั้งอย่างแท้จริง!

    หาใช่ว่าผมรับรู้สิ่งนั้นได้เพียงคนเดียว ผมนั่งทำงานอยู่ตอนช่วง "ข่าวในพระราชสำนัก" ทางกองบรรณาธิการยังโทร.มาบอกด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นดีใจ "ในหลวงออกโทรทัศน์ ในหลวงทรงหายประชวรแล้ว" คือโทร.มาในความหมายให้ผมรีบเปิดดู ความจริงผมนั่งดูอยู่แล้ว และในวันรุ่งขึ้น ผมก็ได้สดับตรับฟังคำโจษขานไปในทางเดียวกันว่า

    "ในหลวงทรงหายประชวร ในหลวงทรงสมบูรณ์แข็งแรงดีแล้ว" เพราะมีพระราชดำรัสกับคณะผู้พิพากษาที่เข้าเฝ้าฯ ได้แจ่มใส ชัดเจนดังปกติดีทุกประการ

    พระองค์ประทับอยู่ในวัง ถึงใกล้-ก็เหมือนไกลจากประชาชนของพระองค์ แต่เมื่อเสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช สูง-แต่ใกล้ ประหนึ่งศีรษะพสกซบนบอยู่เบื้องพระบาทของพระองค์ ทั้งวัน ประชาชนทุกหมู่เหล่า ใจคนรวย ใจคนจน ใจผู้ดี ใจไพร่ ใจคนมีอาการครบ ๓๒ ใจคนพิการ เรียกว่าจะต่างชั้น วรรณะ และฐานะ-อาชีพขนาดไหน

    แต่เท่ากัน......

    คือ ใจรักและภักดี "พ่อของฉัน" เหมือนกันหมด!

    ชาวบ้านแท้ๆ อันเป็นสมบัติของแผ่นดิน สมบัติของพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงรักและทรงปกปักรักษา โน่น....รอนแรมจากแดนไกลมา จากต่างถิ่น ต่างจังหวัด ผมเห็นในโทรทัศน์ ขนมห่อด้วยใบไม้ ชาวบ้านยังประคองแนบกาย-แนบใจ นำมาถวายให้พ่อหลวงของฉัน พระองค์ท่านประชวร เกรงว่าพระองค์ท่านจะไม่มีพระกระยาหารเสวยถูกพระราชหฤทัย

    ดูซิ...คุณย่า คุณยาย กระทั่งนักเรียนตัวเล็กๆ มาไหว้ มากราบ มาอธิษฐานใจ ใครมีอะไรที่ "ดีที่สุด" ในสภาพฐานะของตนเอง ก็พยายามถนอมประคองสิ่งนั้นมาทูลเกล้าฯ ถวาย ด้วยบริสุทธิ์แห่งใจอย่างเดียวว่า สิ่งนี้แทนหน้า-แทนใจ มาเยี่ยมพระอาการไข้ในหลวง

    มะโนปุพพัง คะมา ธัมมา ในตัวเรามีใจเป็นใหญ่

    มะโนเสฏฐา มะโน มะยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นธรรมชาติถึงก่อน

    มะนะสา เจ ปะสันเนนะ ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วแต่ใจ

    นี่แหละ...ตรงนี้แหละ ตรงกระแสจิตบริสุทธิ์ของมวลพสกที่ส่งตรงจากลาน ณ โรงพยาบาลสู่ชั้น ๑๔ ด้วยหวังอภิบาลรักษาพระอาการประชวร เป็น "จิตตานุภาพ" กอปรด้วยพลังมหาศาลที่ต่อติดจริงๆ

    ประชาชนคนไทยทั้งหลาย จงยึดมั่นไว้เถิด แล้วความประเสริฐทั้งมวลจะบังเกิดกับชาติ-ประชาชน เพราะพระองค์มิเพียงทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่พร้อมด้วยทศพิธราชธรรมเท่านั้น หากแต่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีธรรมขั้นอุดม ทรงเป็น "เนื้อนาบุญประเสริฐ" ของพสกผู้เคารพนบนอบกราบไหว้.......



    คัดลอกบางตอนจาก "ด้วยบุญญาพระบารมีพ่อนี้ปกเมือง" - เปลว สีเงิน

    ไทยโพสต์ 4 ก.พ. 53
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ได้คุยกับพระมหาฤทธิชัยแล้ว ท่านก็เมตตาตอบ ถือเป็นความเมตตาของพระท่าน

    เมื่อเช้าได้ข่าวความเคลื่อนไหวของช่วงปลายเดือนรู้สึกห่วงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกรงจะทำให้พระองค์ท่านไม่สบายพระทัย

    ขอพระสยามเทวาธิราชโปรดปกป้องพ่อหลวงของชาวไทยให้ทรงพระเกษมสำราญทุกทิวาราตรีการด้วยเทอญ

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
  8. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    "มะโนปุพพัง คะมา ธัมมา ในตัวเรามีใจเป็นใหญ่

    มะโนเสฏฐา มะโน มะยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นธรรมชาติถึงก่อน

    มะนะสา เจ ปะสันเนนะ ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วแต่ใจ

    นี่แหละ...ตรงนี้แหละ ตรงกระแสจิตบริสุทธิ์ของมวลพสกที่ส่งตรงจากลาน ณ โรงพยาบาลสู่ชั้น ๑๔ ด้วยหวังอภิบาลรักษาพระอาการประชวร เป็น "จิตตานุภาพ" กอปรด้วยพลังมหาศาลที่ต่อติดจริงๆ

    ประชาชนคนไทยทั้งหลาย จงยึดมั่นไว้เถิด แล้วความประเสริฐทั้งมวลจะบังเกิดกับชาติ-ประชาชน เพราะพระองค์มิเพียงทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่พร้อมด้วยทศพิธราชธรรมเท่านั้น หากแต่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีธรรมขั้นอุดม ทรงเป็น "เนื้อนาบุญประเสริฐ" ของพสกผู้เคารพนบนอบกราบไหว้......."



    สาธุ สาธุ สาธุ


     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466






    อนุโมทนา สาธุ
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทางสายธาตุนำเรื่องนอกเหนือจากที่มีบันทึกหรือร่องรอยศิลปกรรมออกทั้งหมดค่ะ

    ให้เหลือแต่ข้อความที่เคยเขียนไว้เป็นประเภทของหลักฐานเท่านั้น

    เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาตามหลักฐาน และได้พิจารณาเรื่องราวของของพระองค์ท่าน

    ในรูปแบบของการอ่านประวัติศาสตร์ เรื่องราวเหล่านี้ไม่มีรูปแบบของปาฎิหารย์ใดๆค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  11. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เดิมปุถุชนที่ยังไม่ได้สดับต่างก็มักจะเข้าใจกันไปต่างๆนานา โดยอ้างกฎเกณฑ์

    หรือหลักกฎหมายฯลฯ ไปตามความเข้าใจของตนเองบ้างของผู้รู้อื่นๆบ้าง แต่

    เมื่อได้สดับดังนี้แล้ว "กรรมแม้แต่ที่เกิดจากการคิด ก็เป็นกรรมที่ต้องได้รับผล


    กรรมนั้น" ถือเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่เราได้เกิดมาในร่มเงาพระพุทธศาสนา มี

    พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งของชีวิต จักได้พึงระลึกไว้เสมอ เกิดความระมัดระวังไม่

    หลงหรือเผลอไปสร้างกรรมเหล่านี้เข้า "แค่คิดไม่ดี" ก็บาปแล้ว




    ต้องขอขอบคุณคุณTupLuang ต้นทางสาระธรรม และคุณ โมเย ผู้นำมาแบ่ง

    ปันเป็นธรรมทาน รวมทั้งทุกแหล่งที่มา ขออนุโมทนา สาธุ

    และด้วยแรงบันดาลใจนี้ ขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับความคิดจากหนังสือ

    พิมพ์ เดลินิวส์ เรื่อง 15 คิดอันตราย....



    15 คิดอันตราย

    วันศุกร์ ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 0:00 น





    “คิด” เป็น จุดเริ่มต้น ของ “การกระทำ”

    “คิด” แล้ว “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” ก็อยู่ที่ “คิด” อีกเช่นกัน ดังนั้น “คิด” จึงมีบทบาทอย่างสูงต่อชีวิตมนุษย์

    “คิด” แล้วเกิด “อันตราย” ต่อตัวเองและสังคม มีอยู่ด้วยกัน 15 ประการ

    ประการแรก “คิดเลื่อนลอย” ไม่มีเหตุผล ไม่มีหลักฐาน ไม่มีตัวเลขสนับสนุน แต่เก็บมาคิดเป็นเรื่องเป็นราว บางคนเอา มาฝันตอนกลางคืน หรือคำสั่งของเมียมาประพฤติปฏิบัติ พอถูกถามว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น ตอบไม่ได้ว่าทำไม แต่จะทำ ใครจะทำไม

    ประการที่สอง “คิดเข้าข้างตัวเอง” ทำอะไรคิดถึงตัวเองเป็นหลัก สังคมจะคิดอย่างไรไม่สนใจ เพราะฉันคิดของฉันเช่นนี้ คนพวกนี้จะไม่ค่อยปรับตัวเองเข้ากับผู้อื่น แต่คิดเพียงว่า คนอื่นต้องปรับตัวเองมาเข้ากับความคิดของตัวเสียมากกว่า คนพวกนี้ไม่ค่อยมีเพื่อนและมักจะดื้อ

    ประการที่สาม “คิดคูณทวี” ความจริงมีแค่หนึ่ง แต่คิดเป็นคูณทวี เป็นร้อย เป็นพัน คิดแบบนี้ใกล้เคียงกับ “คิดเพ้อเจ้อ” น่าจะจบได้แค่หนึ่ง แต่ไม่จบ ดันไปจบที่ร้อย จึงเปลืองสมองโดยใช่เหตุ

    ประการที่สี่ “คิดคับแคบ” เพราะไม่ชอบออกสังคม ไม่ชอบคบเพื่อนใหม่ แม้ จะมีสังคมก็จะเป็นสังคมแคบ ๆ วนเวียนอยู่กับคนใกล้ชิดเดิม ๆ ไม่ชอบมองอะไรนอก กรอบ ถ้าปกครองประเทศ ประเทศเจริญยาก

    ประการที่ห้า “คิดเกินจริง” มีความวาดฝันสูงกว่าขอบเขตที่ควรเป็น ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นจริงไม่ได้ แต่ก็คิด และ เชื่อเสียด้วยว่า น่าจะเป็นจริงได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีทางเป็นจริงได้

    ประการที่หก “คิดแต่ลบ” มองอะไรเป็นสิ่งไม่ดี ไม่งาม ไม่ถูก ไม่ควรไปหมด ชีวิตของคนเหล่านี้จะเต็มไปด้วย ความมืดมน หาความสว่างไสว ไม่มีทางได้ เมื่อคิดแต่ทางลบ จึงมองผู้อื่นเป็นศัตรูไปเสียหมด

    ประการที่เจ็ด “คิดเอาแต่ได้” ถ้า ได้ประโยชน์ จะเอา ถ้า เสียประโยชน์ ไม่เอา อะไรไม่ดีผลักไปให้คนอื่น อะไรดีเก็บมาเป็นผลงานของตัวเอง คนพรรค์อย่างนี้ อยู่กับเพื่อนร่วมโลกได้ยากมาก หาเพื่อน แท้ไม่มีทางได้ เพราะไม่มีใครอยากเป็นเพื่อนด้วย

    ประการที่แปด “คิดดันทุรัง” รู้ทั้งรู้ว่าทำไม่ได้แต่ก็ดันทุรังคิดว่าจะทำ แพ้ไม่ยอมแพ้ ไม่รู้สมรรถนะของตัวเอง ถ้าเล่นการพนัน มีสิทธิหมดตัวในเร็ววัน เพราะยิ่งเสีย ยิ่งดันทุรังเล่นต่อไปเรื่อย ๆ พวกนี้มักขาดสติยั้งคิด

    ประการที่เก้า “คิดหวาดระแวง” กลัวคนอื่นทำร้าย กลัวคนอื่นได้ดิบได้ดีมาก กว่าตัว เห็นบ่อย ๆ คือ หัวหน้าไม่อยากให้ลูกน้องได้ดีกว่าตัว จึงกดขี่ข่มเหงไม่ให้ได้ผุดได้เกิด

    ประการที่สิบ “คิดเคียดแค้น” อารมณ์ คุกรุ่น รุ่มร้อน อยู่ไม่เป็นสุข วัน ๆ คิดแต่จะแก้แค้นผู้อื่น สุดท้ายมักตายเร็วกว่ากำหนด ถ้าจับงานใหญ่ ไม่มีวันสำเร็จได้ เพราะไม่รู้จักคำว่าให้อภัย

    ประการที่สิบเอ็ด “คิดทุจริตคดโกง” เรื่องเช่นนี้แค่คิดก็ผิดแล้ว ถ้าดันนำไปปฏิบัติเข้าให้อีก ยิ่งผิดมากขึ้นเข้าไปใหญ่ เดี๋ยวนี้การทุจริตคดโกง กรรมเห็นเร็ววันเสียด้วย

    ประการที่สิบสอง “คิดขวางโลก” คนอื่นเขาบอกว่า “เอ” แต่คนพวกนี้จะบอกว่า “บี” ไม่มีทางจะคิด หรือจะทำอะไรที่เหมือนผู้อื่น คนที่ชอบคิดขวางโลก สุดท้ายจะเป็นมนุษย์ประหลาดในสังคม แต่ถ้าคิดแล้วเป็นไปในเชิง นวัตกรรม นั่นเป็นเรื่องที่ดี

    ประการที่สิบสาม “คิดโยกโย้” เลยไม่ทำอะไรเสียที คิดมาก เพราะรู้มากเกินเหตุ คิดมาก เพราะมัวแต่กลัวโน่นกลัวนี่ มักจะเป็นลักษณะของนักวิชาการ คนเหล่านี้มาทำธุรกิจมักสู้คนไม่คิดโยกโย้ไม่ได้

    ประการที่สิบสี่ “คิดแต่โทษผู้อื่น” ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ถูก ไม่เป็นเรื่อง แต่ก็มักโทษว่าเป็นความผิด ความไม่ดีของผู้อื่น คนพวกนี้จะพัฒนาได้ยากมาก เพราะ เมื่อมองไม่เห็นความไม่ดี ความไม่เป็นเรื่องของตัวการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง จึงไม่เกิด

    และประการสุดท้าย “คิดฉลาด แต่ไม่เฉลียว” เวลามองอะไรจะ มองสั้น ๆ มีวิสัยทัศน์ที่แคบ ตัดสินใจอะไรมัก มองไม่ครบทางเลือก เมื่อเป็นเช่นนี้ สุดท้ายทุก อย่างจะยุ่งวุ่นวายเหมือนอวนติดร่างแห กว่าจะแก้ให้กลับมาดีได้ มักสายเกินแก้

    15 คิดข้างต้น จัดเป็นคิดอันตราย ถ้ามีกับใคร นอกจากจะเป็นภัยแก่ตัวเองแล้ว ยังเป็นภัยแก่สังคมและประเทศชาติอีกด้วย.

    อนุภพ



    ๐ ขอขอบคุณแหล่งที่มา
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความคิดแตกออกได้หลายอย่างเลยนะคะ

    -------------------------------------------------
    อ้างอิง

    พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นสมบัติของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน

    นายมนตรี อมาตยกุล หัวหน้ากองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ตรวจสอบและทำเชิงอรรถ

    สำนักพิมพ์ก้าวหน้า ๘๘๒ วังบูรพา พระนคร จัดพิมพ์จำหน่าย _________________________________________________________ พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ ๑๑๗-๑๑๙ / ๒ เฟื่องนคร หน้าวัดราชบพิธ พระนคร โทร. ๒๙๗๓๒ นายประยูร พิศนาคะ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ๒๕๐๗
    จัดพิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗ สำนักพิมพ์ก้าวหน้า ๘๘๒ วังบูรพา พระนคร โทร. ๒๖๕๔๑

    จากพงศาวดารจะเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนาวัดพุทไธศวรรย์แล้วจึงทรงสถาปนาวัดป่าแก้วเป็นอันดับต่อมา รูปแบบแผนผังวัดจึงน่าจะมีส่วนคล้ายคลึงกัน
    จึงทำให้คิดว่าอย่างนี้ค่ะ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นสมบัติของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน

    [๑๕] หน้า พระมหาธรรมราชายกทัพซุ่มโจมตีทัพกรุง ศรีสัตนาคนหุตแตก ๑๒๙ พระมหาธรรมราชาให้พระยาจักรีไปเป็นไส้ศึก ในกรุง ๑๓๐ พระยาจักรีทรยศต่อชาติไทย ๑๓๑ เสียกรุงแก่พระเจ้าหงสาวดี ๑๓๑ พระเจ้าหงสาวดีราชาภิเษกพระมหาธรรมราชา ๑๓๓ รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระเจ้าหงสาวดียกทัพกลับไปทางเมืองกำแพงเพชร๑๓๔ สมเด็จพระมหินทราธิราชสวรรคต ๑๓๕ ศึกเขมรครั้งที่ ๑ พระยาละแวกยกกองมาปล้น พระนคร ๑๓๗ พระนเรศวรเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ๑๓๘ พระเจ้าหงสาวดียกทัพไปรบกรุงศรีสัตนาคนหุต เกณฑ์ ให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาไปในกองทัพด้วย๑๓๘ ศึกเขมรครั้งที่ ๒ พระยาละแวกยกกองมาปล้น พระนคร ๑๓๙ พระยาละแวกปล้นกรุงไม่สำเร็จยกทัพกลับ ๑๔๐


    [๑๖] หน้า ศึกเขมรครั้งที่ ๓ พระยาละแวกให้กองเรือปล้น เมืองเพชรบุรี ๑๔๑ พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรมาสวามิภักดิ์ ๑๔๑ พระยาจีนจันตุลอบหนีออกไป ๑๔๑ โปรดให้แต่งพระนคร ขุดคูชื่อหน้าแต่งป้อม ๑๔๓ เกิดกบฏญาณพิเชียน ๑๔๓ ศึกเขมรครั้งที่ ๔ พระยาละแวกยกกองเรือมา ปล้นเมืองเพชรบุรี ๑๔๔ ศึกเขมรครั้งที่ ๕ พระยาละแวกให้กองทหารมา ลาดถึงหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ๑๔๖ พระนเรศวรแต่งทัพขับไล่กองทหารเขมรแตกกลับไป๑๔๖ พระเจ้าหงสาวดีสวรรคต มังเอิงราชบุตรได้ ผ่านสมบัติ ๑๔๗ เมืองรุมเมืองคังแข็งเมืองต่อกรุงหงสาวดี ๑๔๗ พระนเรศวรยกทัพไปช่วยปราบเมืองรุมเมืองคัง ๑๔๗ พระนเรศวรจับเจ้าเมืองรุมเมืองคังได้ ๑๔๙ พระนเรศวรเสด็จยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ๑๔๙ พระเจ้าหงสาวดีอ้างว่ากรุงรัตนบุรอังวะเป็นกบฏ ขอให้พระนเรศวรยกทัพไปช่วย ๑๕๐

    [๑๗] หน้า พระนเรศวรเสด็จถึงเมืองแครง ๑๕๒ พระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียน พระยา (พระ) รามมาเฝ้าพระนเรศวรทูลเล่าเปิดเผย ราชการลับกรุงหงสาวดี ๑๕๓ พระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ๑๕๔ พระนเรศวรทรงปืนนกสับยิงข้ามแม่น้ำสะโตง ถูกสุระกำมาตาย ๑๕๕ พระนเรศวรเสด็จยกทัพตามตีนันทสุกับราชสังคราม๑๕๘ พระยาไชยบูรณ์ชนช้างกับนันทสุ ขุนพลีชนช้าง กับราชสังคราม ๑๕๘ นันทสุกับราชสังครามแตกหนีไป ๑๕๙ พระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลกแข็งเมือง ๑๕๙ พระนเรศวรเสด็จยกทัพไปปราบพระยาพิชัย และพระยาสวรรคโลก ๑๖๐ ประหารชีวิตพระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลก ๑๖๒ พระนเรศวรเสด็จกลับเมืองพระพิษณุโลก ๑๖๒ พระยาละแวกแต่งทูตมาเจริญพระราชไมตรี ๑๖๓ เทครัวอพยพชาวเมืองเหนือมา ณ กรุง ๑๖๔


    [๑๘] หน้า ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้า เชียงใหม่ยกทัพมาทางเมืองกำแพงเพชร และ พระยาพสิมยกมาทางกาญจนบุรี ๑๖๖ พระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จยกทัพ ถึงสามขนอน ๑๖๗ ทัพพระยาพสิมแตกพ่าย ๑๖๘ พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมายังเมืองนครสวรรค์ ๑๖๘ ทัพพระราชมนูและขุนรามเดชะตีทัพหน้า เชียงใหม่แตก ๑๖๙ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๒ พระเจ้าหงสาวดีให้ พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาทางนครสวรรค์ ๑๗๑ พระยาละแวกให้พระศรีสุพรรณมาธิราชยกมาช่วย ๑๗๒ พระเจ้าหงสาวดีให้พระมหาอุปราชาคุมพลมาตั้ง ทำนาเมืองกำแพงเพชร ๑๗๓ พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถตีทัพพระเจ้า เชียงใหม่แตกไป ๑๘๐ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๓ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมา ทางเชียงทอง ๑๘๔ พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถออกตีทัพหงสาวดี ๑๘๗

    [๑๙] หน้า พระเจ้าหงสาวดีถอยทัพไปตั้งที่ปากโมกใหญ่ ๑๘๙ พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพกลับไป ๑๙๐ ศึกเขมรครั้งที่ ๖ พระยาละแวกให้กองทัพมาตี หัวเมืองตะวันออก ๑๙๐ พระยาศรีไสณรงค์และพระยาศรีราชเดโชตีทัพ เขมรแตก ๑๙๑ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๔ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมา ทางกำแพงเพชร ๑๙๒ พระนเรศวรปีนค่ายหงสาวดี ๑๙๓ พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพกลับไป ๑๙๔ สมเด็จพระมหาธรรมราชาสวรรคต ๑๙๔ รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขึ้นเสวยราชย์ ๑๙๕ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดีให้พระ มหาอุปราชายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ๑๙๖ สมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพ ๑๙๘ สมเด็จพระนเรศวรทรงชนช้างชนะพระมหาอุปราชา๒๑๐ ทัพหงสาวดีแตกยับเยิน ๒๑๑


    [๒๐] หน้า โปรดให้ก่อพระเจดียสถานสวมศพ พระมหาอุปราชาที่ตำบลตระพังตรุ ๒๑๑ ปรึกษาโทษนายทัพนายกองที่โดยเสด็จไม่ทัน ในงานพระราชสงคราม ๒๑๒ สมเด็จพระพนรัตน์ป่าแก้วขอพระราชทานโทษ นายทัพนายกอง ๒๑๓ โปรดให้พระยาจักรียกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี และพระยาพระคลังไปตีเมืองทวาย ๒๑๕ โปรดให้ตั้งหัวเมืองฝ่ายเหนือ ๒๑๖ พระเจ้าเชียงใหม่แต่งทูตมาขอสวามิภักดิ์ ๒๑๘ พระเจ้าเชียงใหม่ขอให้กองทัพกรุงขึ้นมาช่วย ๒๒๐ โปรดให้พระยาราชฤทธานนท์ยกทัพขึ้นไปช่วย เชียงใหม่ ๒๒๑ พระยาจักรีตีเมืองตะนาวศรีแตก ๒๒๒ พระยาพระคลังตีเมืองทวายแตก ๒๒๒ โปรดให้พระยาศรีไสณรงค์อยู่รั้งเมืองตะนาวศรี ๒๒๕ พระยาจักรีให้ก่อพระเจดีย์ที่พรมแดนระหว่าง ไทยกับทวาย ๒๒๕ เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพระยาละแวก ๒๒๖

    [๒๑] หน้า พระนเรศวรตีทัพเขมรแตก ๒๒๗ พระนเรศวรเลิกทัพกลับยังพระนคร ๒๒๘ พระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้าแปรยกมาตรวจด่าน ๒๒๙ พระนเรศวรตีทัพพระเจ้าแปรแตก ๒๓๐ พระนเรศวรเตรียมทัพยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี ๒๓๑ พระนเรศวรให้ไปตั้งพิธีชุมพลตำบลทุ่งหารตรา ๒๓๒ โปรดให้พระราชมานูไปตีเมืองปัตบองและโพธิสัตว์ ๒๓๓ พระยาละแวกสั่งให้แต่งการกันพระนคร ๒๓๔ ทัพพระราชมานูตีได้เมืองปัตบอง ๒๓๖ พระราชมานูยกเป็นทัพหน้ายกเข้าไปเมืองโพธิสัตว์ ๒๓๘ ทัพพระราชมานูตีทัพพระยาสวรรคโลกแตก ๒๓๙ พระยาละแวกสั่งให้พระยานเรศร์ยกทัพไปช่วย เมืองบริบูรณ์ ๒๔๐ พระนเรศวรตีทัพเขมรแตก จับได้พระยาเสนาบดี ๒๔๑ พระยาละแวกคาดโทษพระศรีสุพรรณมาธิราชและ นายทัพนายกอง ๒๔๒ พระนเรศวรยกทัพประชิดกรุงกัมพุชประเทศ ๒๔๓ ทัพพระยาเพชรบุรีตีได้เมืองป่าสัก ๒๔๔


    [๒๒] หน้า ทัพไทยตีกรุงกัมพูชาแตก จับได้พระยาละแวก ๒๔๘ ประหารชีวิตพระยาละแวก ๒๕๐ พระนเรศวรยกทัพกลับโดยทางนครเสียมราบ ๒๕๒ โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกทัพไป ปราบพระยาศรีไสยณรงค์ ๒๕๓ ประหารชีวิตพระยาศรีไสยณรงค์ ๒๕๖ โปรดให้พระยาราชฤทธานนท์เป็นเจ้าเมือง ตะนาวศรี ๒๕๖ เจ้าเมืองเมาะลำเลิงสวามิภักดิ์ ๒๕๗ เจ้าฟ้าแสนหวีมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ๒๕๘ พระยาละแวก (องค์ใหม่) สวามิภักดิ์ ๒๕๙ โปรดให้พระยาจักรียกทัพไปตั้งมั่นสะสมเสบียง ที่เมืองเมาะลำเลิง ๒๖๒ เจ้าเมืองเมาะตะมะ, เมืองละเคิ่ง, เมืองขลิก, เมืองบัวเผื่อน เมืองพสิมและเมืองตองอูสวามิภักดิ์ ๒๖๒ พระมหาเถรเสียมเพรียมยุให้พระเจ้าตองอูคิด การใหญ่ ๒๖๓ พระเจ้าตองอูมีหนังสือขู่เมืองต่าง ๆ ที่สวามิภักดิ์ไทย๒๖๗


    [๒๓] หน้า เมืองต่าง ๆ ที่ขอสวามิภักดิ์แล้ว กลับเป็น ปรปักษ์ต่อไทย ๒๖๘ เสด็จยกทัพหลวงไปเมืองเมาะลำเลิง ๒๗๒ พระเจ้าหงสาวดีประชวรให้พระเจ้าตองอูยกทัพไป ช่วยป้องกันกรุงหงสาวดี ๒๗๕ ทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะลำเลงไปปราบ เมืองเมาะตะมะ ๒๗๙ ทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะตะมะไปปราบ เมืองหงสาวดี ๒๘๑ ทัพหลวงเสด็จจากเมืองหงสาวดีไปเมืองตองอู ๒๘๕ ขาดเสบียงจึงโปรดให้ยกทัพหลวงถอยจากเมืองตองอู๒๘๙ โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นไประงับการ วิวาทระหว่างหัวเมืองขึ้นกับเจ้าเชียงใหม่ ๒๙๐ โปรดให้เจ้าฟ้าแสนหวีไปครองเมืองแสนหวี ๒๙๗ เขมรขอพระศรีสุพรรณมาธิราชไปครองเมืองละแวก๓๐๖ พระยาอ่อนคิดกบฏต่อกรุงกัมพูชา ๓๐๗ เขมรขอกำลังไปช่วยปราบพระยาอ่อน ๓๐๗ โปรดให้พระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชายกทัพ ไปช่วยเขมร ๓๐๗

    [๒๔] หน้า ทัพพระยาอ่อนแตกฉาน ๓๐๗ สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จประพาสเมือง พระพิษณุโลก ๓๐๘ เสือร้ายในเมืองพระพิษณุโลก ๓๐๘ สมโภชพระชินราช พระชินศรี ๓๐๙ เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีถึงตำบลสามร้อยยอด ๓๐๙ โปรดให้เตรียมทัพหลวงจะไปปราบอังวะ ๓๑๐ เสด็จพระราชดำเนินทัพหลวงไปทางเชียงใหม่ ๓๑๒ เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธสิหิงค์ใน เมืองเชียงใหม่ ๓๑๒ ทัพหลวงเสด็จไปทางเมืองทางหลวง ๓๑๒ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประชวรหนัก ๓๑๓ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคต ๓๑๓ รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ บรมราชาภิเษกสมเด็จพระเอกาทศรถ ๓๑๔ อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรลงมา ณ กรุง๓๑๕ เมืองไทรให้ทูตนำเครื่องบรรณาการมาถวาย ๓๑๖ พระราชพิธีสงครามาภิเษก ๓๑๗ พระราชพิธีประเวศพระนคร ๓๑๘

    [๒๕] หน้า ปราบดาภิเษก ๓๑๘ พระบรมนามาภิไธย ๓๑๙ สถาปนาวัดพระวรเชษฐารามมหาวิหาร ๓๒๐ สร้างพระไตปิฎกและหอพระสัทธรรม ๓๒๐ ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวร ๓๒๑ พระยาตองอูแต่งหนังสืออำพรางหัวเมืองขึ้น กรุงหงสาวดี ๓๒๑ พระเจ้าหงสาวดีถูกยาพิษสวรรคต ๓๒๔ พระยาตองอูแต่งราชทูตมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร๓๒๕ พระยาล้านช้างแต่งราชทูตมาขอพึ่งพระบรม โพธิสมภาร ๓๒๖ สถาปนาพระที่นั่งอรรณพ ๓๒๖ พระราชพิธีอาศวยุช ๓๒๗ สถาปนาพระพุทธรูปสนองพระองค์ ๓๒๙ พระราชพิธีไสเรือ ๓๒๙ ตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยการ ๓๓๑ พระมหาอุปราชเสวยยาพิษสวรรคต ๓๓๒ ทรงประชวรหนักเสด็จสวรรคต ๓๓๒


    [๒๖] หน้า รัชกาลสมเด็จพระศรีเสาวภาค เสด็จขึ้นครองราชย์ ๓๓๒ พระพิมลธรรมอนันตปรีชาวัดระฆังเป็นกบฏ ๓๓๒ สำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดิน ๓๓๓ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เสด็จขึ้นผ่านพิภพ ๓๓๓ ญี่ปุ่นคุมพวกจะเข้าประทุษร้ายต่อสมเด็จ พระเจ้าแผ่นดิน ๓๓๓ พระมหาอำมาตย์คุมพลไล่รบญี่ปุ่นแตก แล้วได้ เลื่อนเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ๒๓๔ โปรดให้ชักพระมงคลบพิตรอยู่ฝ่ายตะวันออก มาไว้ฝ่ายตะวันตก ๓๓๔ เมืองตะนาวศรีเสียแก่พม่า ๓๓๕ พรานบุญพบรอยพระพุทธบาท ๓๓๕ โปรดให้สถาปนามณฑปสวมพระบรมพุทธบาท ๓๓๖ แปลงปัถวีเรือชัยเป็นเรือกิ่ง ๓๓๖ ทรงพระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงและสร้าง พระไตรปิฎก ๓๓๖ เสด็จสวรรคต ๓๓๖

    [๒๗] หน้า รัชกาลสมเด็จพระเชษฐธิราช เสด็จขึ้นราชภิเษกครองราชสมบัติ ๓๓๗ พระพันปีศรีสินราชอนุชากบฏ ๓๓๗ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์คิดกบฏ ๓๓๗ สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ๓๔๑ รัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ ราชาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ ๓๔๒ มุขมนตรีเชิญให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ขึ้นครองราชย์ ๓๔๒ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง การพระราชพิธีปราบดาภิเษก ๓๔๓ สถาปนาพระอนุชาเป็นที่ พระสุธรรมราชา ๓๔๕ สถาปนาวัดไชยวัฒนาราม ๓๔๕ โปรดให้ช่างออกไปถ่ายอย่างพระนครหลวง มาสร้างที่ตำบลริมวัดเทพจันทร์ ๓๔๕ สร้างจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท ๓๔๖ สมภพพระนารายณ์ราชกุมาร ๓๔๖ สถาปนาวัดชุมพลนิกายาราม ๓๔๗



    [๒๘] สถาปนาพระปรางค์วัดมหาธาตุ ๓๔๗ ลดพระอาทิตยวงศ์ลงจากยศให้ไปปลูกเรือน เสาไม้ไผ่ริมวัดท่าทราย ๓๔๘ เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาท ๓๔๘ เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา ๓๕๑ คนตื่นเอาตำราคุณไสยทิ้งน้ำ ๓๕๒ ให้ยกกำแพงพระราชวังออกไป ๓๕๒ ให้สร้างพระมหาปราสาท พระวิหารสมเด็จ ๓๕๒ อสุนีบาตลงต้องหลักชัย แต่ไม่ต้อง พระนารายณ์ราชกุมาร ๓๕๓ สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ยกพวกเข้าปล้นพระราชวัง ๓๕๓ จับพวกสมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ได้ให้ประหารชีวิต ๓๕๓ พระราชพิธีลบศักราช ๓๕๖ อสุนีบาตต้องหน้าบัน แต่ไม่ต้อง พระนารายณ์ราชกุมาร ๓๖๐ เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง ๓๖๒ เสด็จสวรรคต ๓๖๓ รัชกาลสมเด็จเจ้าฟ้าชัย ขึ้นครองราชสมบัติ ๓๖๓


    เป็นเรื่องย่อๆตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระศรีเสาภาค สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สมเด็จพระเชษฐาธิราช สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าชัย (พระราชบุตรพระองค์โตของพระเจ้าปราสาททอง) โดยลำดับค่ะ
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ภาพถ่ายทางอากาศ พระนครศรีอยุธยา

    ด้านตะวันตกเห็นแนวถนนโบราณไปวัดวรเชษฐ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง

    จะเห็นคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ

    คำว่า cochon แปลว่าหมู (ในภาษาฝรั่งเศส) ถ้าเป็นคนไทยจะเรียกคลองนี้ว่า คลองแกลบหรือไม่ อันนี้ไม่แน่ใจ

    ตำแหน่งที่5 Royal Pagoda

    ตำแหน่งที่7 Queens Pagoda
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ผังวัดไชยวัฒนาราม

    เจดีย์เจ้าแม่วัดดุสิตอยู่ทางทิศเหนือของวัด
    เจดีย์คู่ย่อมุมไม้สิบสองอยู่ทางทิศตะวันออก
    พระปรางค์ประธานสร้างแบบรัตนมหาธาตุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล

    จากหนังสืออยุธยา แกะรอย กรุงเก่า อย่างเจาะลึก
    เรียบเรียงโดย ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์ . วิไลรัตน์ ยังรอด
    สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)

    กล่าวถึงเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลไว้ที่หน้า๓๙

    การก่อสร้าง องค์ระฆังใช้วิธีเรียงอิฐเป็นห้องคล้ายโดม นักวิชาการบางท่านเสนอว่าเป็นเทคนิคการก่อสร้างแบบเปอร์เซีย ซึ่งกรุงศรีอยุธยาได้รับมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ด้วยเหตุนี้เจดีย์องค์นี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งแตกต่างจากข้อสันนิษฐานเดิมที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    และมีศาลเจ้าแม่วัดดุสิต อยู่ใกล้ๆวัดใหญ่ชัยมงคลด้วย ทรงเป็นพระนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเขียนไว้ในหนังสือว่า

    ใกล้ๆวัดใหญ่ชัยมงคล มีศาลเจ้าที่เรียกกันว่า ศาลเจ้าแม่วัดดุสิต เจ้าแม่วัดดุสิตคือพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาปานและโกษาเหล็ก เสนาบดีผู้เลื่องชื่อในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เจ้าแม่วัดดุสิตได้รับการกล่าวขานถึงความเป็นผู้หญิงเก่ง เป็นทั้ง "แม่นม" และ "แม่" ของบุคคลสำคัญในสมัยนั้น สามารถชุบเลี้ยงลูกจนได้ดีทุกคน อีกทั้งเป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ พระนางมีตำหนักอยู่ที่ข้างวัดดุสิตาราม จึงได้รับการเรียกขานนามว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" ท่านเป็นที่นับถือของชาวบ้านทั่วไป จึงมีการตั้งศาลไว้กราบไหว้หลายแห่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [​IMG]

    ถามน้องโมเยสักนิดค่ะว่า ภาพนี้เป็นภาพที่ท่านพระมหาฤทธิชัยท่านวาดใช่ไหมคะ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 90427[1].jpg
      90427[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.2 KB
      เปิดดู:
      33,668
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ภาพวาดดอกโบตั๋น

    เดือนนี้ วันวาเลนไทน์ตรงกับวันชิวอิกด้วยค่ะ เอาดอกไม้สวยๆเป็นภาพวาดมาวางไว้

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.861958/[/MUSIC]​

    Main Title Theme (The Last Emperor)​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • K8848757-1.jpg
      K8848757-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192 KB
      เปิดดู:
      55
    • K8848757-2.jpg
      K8848757-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      118.8 KB
      เปิดดู:
      65
    • K8848757-3.jpg
      K8848757-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127 KB
      เปิดดู:
      62
    • K8848757-4.jpg
      K8848757-4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.7 KB
      เปิดดู:
      62
    • K8848757-5.jpg
      K8848757-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      161.5 KB
      เปิดดู:
      50
    • K8848757-6.jpg
      K8848757-6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.2 KB
      เปิดดู:
      61
    • K8848757-7.jpg
      K8848757-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.1 KB
      เปิดดู:
      66
    • K8848757-8.jpg
      K8848757-8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.5 KB
      เปิดดู:
      61
    • K8848757-9.jpg
      K8848757-9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139.1 KB
      เปิดดู:
      50
    • K8848757-10.jpg
      K8848757-10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      156.9 KB
      เปิดดู:
      57
    • K8848757-11.jpg
      K8848757-11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      189.3 KB
      เปิดดู:
      53
    • K8848757-12.jpg
      K8848757-12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.6 KB
      เปิดดู:
      55
    • K8848757-13.jpg
      K8848757-13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.1 KB
      เปิดดู:
      48
    • K8848757-14.jpg
      K8848757-14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      113.9 KB
      เปิดดู:
      63
    • K8848757-15.jpg
      K8848757-15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      112.1 KB
      เปิดดู:
      53
    • K8848757-16.jpg
      K8848757-16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166.8 KB
      เปิดดู:
      58
    • K8848757-17.jpg
      K8848757-17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.8 KB
      เปิดดู:
      61
    • 10 - Main.mp3
      ขนาดไฟล์:
      3.7 MB
      เปิดดู:
      447
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2010
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจอลายในผนังพระเมรุของวัดไชยวัฒนารามทำให้จำได้ว่าคล้ายกับลายบนพระมาลาทองคำ ก็คือลายก้านขดและพันธุ์พฤกษา

    วัดราชบูรณะ สร้างโดยเจ้าสามพระยา ในปีพ.ศ. ๑๙๖๗ หลังการสร้างวัดมหาธาตุ ๔๐ วัดมหาธาตุสร้างในปี พ.ศ. ๑๙๒๗ ถ้าวัดมหาธาตุเคยถล่มลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ราวปี ๒๑๕๕ ถึง ๒๑๗๑บูรณะโดยพระเจ้าปราสาททอง

    วัดราชบูรณะก็น่าจะเคยถล่มลงมาเช่นกัน อาจจะในรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระนารายณ์ ราวปี ๒๑๗๒ ถึง ๒๒๓๑ สันนิษฐานตามลักษณะความคงทนของการก่อสร้างที่น่าจะใกล้เคียงกัน เรื่องนี้ก็น่าสนใจ เพราะลายดอกโบตั๋นที่ดุนเป็นลายนูนบนเครื่องทองนั้น เป็นศิลปะที่นิยมกันมากในสมัยอยุธยาตอนกลางไปจนถึงอยุธยาตอนปลาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...