ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ เทียบกับ แผนผังวัด : ยุคต้น

    หนังสืองานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน ศิลปะอยุธยา
    เขียนโดย ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม
    หน้า 42-43

    แผนผังวัด : ยุคต้น

    ตำแหน่งสิ่งก่อสร้างหลักของวัดในยุคต้นมีระเบียบเด่นชัด คือเจดีย์ประธานซึ่งนิยมสร้างเป็นทรงปรางค์ มีระเบียงคตล้อมพื้นที่เป็นบริเวณโดยเฉพาะ หลังคาระเบียงคตเป็นโครงไม้มุงกระเบื้องจึงชำรุดทลายลงจนหมด พระพุทธรูปซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดเช่นกัน พระพุทธรูปที่สลักจากหินและอยู่ในสภาพดีย่อมถูกเคลื่อนย้ายไปนานแล้ว ที่ปั้นด้วยปูนหากมีเหลืออยู่บ้างก็ล้วนอยู่ในสภาพชำรุด

    ด้านตะวันออกของระเบียงคตคือ วิหารหลวง ท้ายวิหารหลวงล้ำแนวระเบียงคตเข้ามาในบริเวณของเจดีย์ประธาน

    ด้านตะวันตกของระเบียงคตคือ อุโบสถ ด้านหน้าของอุโบสถจึงอยู่ทางตะวันตก และมักก่อขนาดเล็กกว่าวิหารหลวง

    วัดวรเชษฐ์ มีอุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระปรางค์และเล็กว่าวิหารหลวง ตรงตามแบบยุคต้น
    ส่วนวิหารหลวงไปอยู่ทิศใต้ของพระปรางค์ประธานของวัด

    ผังของวัดวรเชษฐ์จึงวางตามแบบยุคต้นเพราะวัดป่าแก้วสร้างตั้งแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา

    ตีลังการูปให้ชมเพราะว่า ในหนังสือเขียนทิศผิด มองง่ายๆ ขวามือคือตะวันออก ซ้ายมือคือตะวันตก บนคือทิศเหนือ ล่างคือทิศใต้

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แผนผังวัด : ยุคกลางและยุคปลาย

    ยุคกลาง ได้แก่วัดเชษฐาราม(ในเกาะ) อาจนับเข้ายุคปลายก็ได้ถ้าสร้างหลังจากวัดไชยวัฒนาราม

    ยุคปลาย ได้แก่ผังวัดไชยวัฒนาราม

    ทั้งสองยุคหลังนี้ อุโบสถอยู่ด้านตะวันออกของเจดีย์ประธาน หรือเรียกง่ายๆว่า โบสถ์อยู่หน้าพระเจดีย์เมื่อหันหน้าเข้าอุโบสถ

    ที่วัดใหญ่ชัยมงคล โบสถ์อยู่หน้าเจดีย์เช่นเดียวกัน

    <TABLE id=imgt><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูปถ่ายทางอากาศของวัดใหญ่ชัยมงคล


    วัดป่าแก้วสร้างในปี พ.ศ. 1900 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง พระอุโบสถควรจะอยู่ด้านตะวันตกของพระปรางค์ประธาน

    ตอบข้อสงสัยของทางสายธาตุเองที่สงสัยว่าทำไมอุโบสถของวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) จึงอยู่หลังพระปรางค์ (หันหน้าไปทางทิศตะวันตก) ไม่เหมือนวัดอื่น เพราะแผนผังการสร้างวัดในยุคต้นนั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2010
  3. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    มาให้กำลังใจ แก่คุณพี่ทางสายธาตุ

    และ อนุโมทนา กับท่านพี่จงรักภักดี ด้วยค่ะ
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระปฐมเจดีย์ กับ เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล

    [​IMG]

    ภาพเขียนที่แสดงให้เห็นพระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบัน ที่สร้างครอบทับพระเจดีย์องค์

    เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นตามตำนาน พระยากง พระยาพาน

    คล้ายๆกับเจดีย์ที่วัดใหญ่ชัยมงคลที่สร้างครอบเจดีย์ทรงลังกาเล็กไว้ข้างใน

    เรื่องนี้ไปสอดคล้องกับความคิดเห็นของ น ณ.ปากน้ำในเรื่องเมืองปทาคูจาม




    ทางสายธาตุออกตัวว่า ขอนำเสนอข้อมูลหลักฐานไว้สำหรับให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เก็บไปพิจารณาประกอบเท่านั้น ท่านผู้อ่านยังสามารถเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อได้ด้วยวินิจฉัยของท่านเองค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2010
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตรงยุคพระเจ้าอู่ทองสร้างวัดพุทไธสวรรค์ ใกล้เคียงกับการสร้างวัดป่าแก้ว โดยมีพระอุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระปรางค์เช่นเดียวกับที่วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ)

    ทางสายธาตุคงตามเรื่องพระเจดีย์เพียงแค่นี้ก่อน มิฉะนั้นข้อมูลคงจะเยอะมากจนเกินไปค่ะ
     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เมื่อเอ่ยถึงองค์พระปฐมเจดีย์ อาจมีหลายๆท่านที่อยากรู้จักเรื่องราวและความ

    เป็นมาให้มากขึ้น จึงขอนำบางเรื่องบางราวมาเล่าสู่กันฟัง

    พระปฐมเจดีย์

    เมื่อครั้งที่ชาวอินเดียนำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิ (บริเวณนครปฐม-อู่ทอง) คงต้องสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ให้เป็นพุทธานุสรณ์สำหรับการกราบไหว้บูชา รูปแบบสถูปจึงควรเป็นอย่างเดียวกับสถูปที่เมืองสาญจีของอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

    เมื่อกาลเวลาผ่านมาประมาณห้าร้อยปี สถูปองค์แรกนี้ย่อมพังทลายลง การซ่อมบูรณะขึ้นใหม่คงต้องเป็นฝีมือของคนพื้นถิ่นที่มีความนิยมในรูปแบบของเจดีย์ชาวลังกาทวีป ซึ่งก็เลื่อมใสในพุทธศาสนาแบบหินยานเถรวาทเช่นเดียวกับชาวทวารวดีที่สุวรรณภูมิเช่นกัน ลักษณะของเจดีย์จึงเป็นคล้ายระฆังทับด้วยแท่นสี่เหลี่ยมเป็นบัลลังก์ แล้วต่อด้วยฉัตรตั้งขึ้นเป็นส่วนยอด

    เมื่อกาลเวลาผ่านมาอีกประมาณห้าร้อยปี พุทธศาสนาแบบมหายานและลัทธิฮินดูมีอิทธิพลมากขึ้น การสร้างสถูปเจดีย์มีความโน้มเอียงให้มีรูปแบบของปราสาทขอมเข้ามาผสมผสาน การบูรณะเจดีย์ขึ้นมาใหม่จึงต่อยอดเจดีย์องค์นี้ให้มียอดเป็นพระปรางค์คล้ายปรางค์ขอมตามอย่างที่กรุงสุโขทัยกำลังนิยมกัน ซึ่งผู้มาซ่อมแปลงครั้งนี้ คือ สมเด็จมหาเถรศรีศรัทธาราช จุฬามมุนีฯ แห่งกรุงสุโขทัย ทำให้เจดีย์องค์นี้เป็นมหาธาตุหลวงของกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนมานมัสการมิได้ขาด

    จวบจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เสด็จฯมาพบ จึงได้ทรงทำการบูรณะเจดีย์องค์นี้ขึ้นใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิม เป็นทรงลังกากลมสูง 120.45 เมตร ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้

    หน้า 20

    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01040652&sectionid=0131&day=2009-06-04
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เมื่อได้กล่าวถึงองค์พระปฐมเจดีย์แล้วก็น่าจะได้ทำความรู้จักจังหวัดนครปฐม

    กันสักเล็กน้อย

    นครปฐม ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ห่างจากกรุงเทพฯ 58 กิโลเมตร เมืองนครปฐมเดิมตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยทวาราวดี เพราะเป็นราชธานีที่สําคัญ มีหลักฐานเชื่อว่า พุทธศาสนา และอารยธรรมจากอินเดียเผยแพร่เข้ามา ที่นครปฐมเป็นแห่งแรก นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆอพยพ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจํานวนมาก ต่อมาเกิดความแห้งแล้งขึ้น ในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทางประชาชนจึง อพยพไปตั้งหลักแหล่ง อยู่ริมน้ำและสร้างเมืองใหม่ขึ้น ชื่อนครชัยศรี หรือ ศิริชัย นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาหลายร้อยปี จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ยัง ทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์เข้า ทรงเห็นว่าเป็น เจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ไหนจะเทียบเท่า
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การคมนาคมสะดวกขึ้น ต่อมาถึงรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มทําทางรถไฟสายใต้ แต่ตอนนั้น เมืองนครปฐมยังเป็นป่ารกอยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองจากตําบลท่านา อําเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณพระปฐมเจดีย์เหมือนที่เคยตั้งมาแล้วในสมัยโบราณ เมืองนครปฐมจึงตั้งอยู่ต่อมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่ตําบลสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จ
    แปรพระราชฐาน และโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย ให้สร้างสะพานให้ข้ามคลองเจดีย์บูชาขึ้น ทรงพระราชทานนามว่า
    สะพานเจริญศรัทธา ต่อมาให้เปลี่ยนชื่อเมืองนครชัยศรี เป็น นครปฐม แต่ชื่อมณฑลยังคงเรียกว่า มณฑลนครชัยศรี อยู่ จนกระทั่งยุบเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันนครชัยศรีมีฐานะเป็นอําเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับนครปฐม
     
  8. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ในรัชสมัยของสมเด็จพระมงกุฎเก้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวัง

    ขึ้นที่ตำบลสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐาน และได้ทรงพระกรุณาโปรด

    เกล้าฯให้สร้าง......



    เทวาลัยคเณศร์
    เทวาลัยคเณศร์ นั้น ตั้งอยู่ที่สนามด้านหน้าของพระที่นั่งพิมานปฐม และเมื่อมองจากพระที่นั่งพิมานปฐมจะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์ อยู่ในแถวเส้นตรงเดียวกัน เป็นที่ประดิษฐานพระคเณศร์ เทวาลัยคเณศร์เป็นเทวาลัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบ จากหนังสืองานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 16พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า ทวารวดีรุ่งเรือง เมืองมหาธีรราชเจ้า หน้า133รองศาสตราจารย์ สมประสงค์ น่วมบุญ ได้อธิบายถึงศิลปะและลักษณะของเทวาลัยคเณศร์ ว่า "ลักษณะของเทวาลัยส่วนฐานยกพื้นสูง ต่อจากฐานก่อเป็นซุ้มสีขาวทั้ง 8ด้าน ที่มุมมีลายกลีบ3กลีบ ทําด้วยโลหะ กลีบตรงกลางใหญ่มี 2กลีบ เรียวเล็ก โค้งตามประกอบอีก 2ข้าง คล้ายยอดวชิราวุธ มีประตูสีแดงปิด-เปิด เข้าข้างในด้านละ 2บาน ส่วนบนของซุ้มมีลายประดับทําด้วยโลหะ เหนือขึ้นไปเป็นที่ประดิษฐานพระคเณศร์อยู่ในซุ้มเทวาลัยรูปร่างคล้ายกูบ ด้านขวาและซ้ายมีซุ้มยื่นออกมาทั้งสองข้าง ส่วนล่างประกอบด้วยโลหะกลีบบัว ต่อขึ้นไปเป็นเสาเทวาลัย มีลายกลีบทําด้วยโลหะ ส่วนบนของเสาเป็ยลายกระจัง กรอบซุ้มส่วนบนเป็นลายดอกจันทร์ โค้ง 2ข้างลงมาเป็นตัวกรคายนนาค ตรงกลางของซุ้มเทวาลัยมียอดแหลม องค์คเณศร์หล่อด้วยโลหะรมดํา ประทับนั่งราบ พระพักตร์ตรง พระหัตถ์ขวาถือเชือกห่วงบาศก์วางเหนือเข่าขวา พระหัตถ์ซ้ายถือถาดก้อนน้ำตาล(ขนมโมทกะ)อยู่เหนือเข่าซ้าย"
    [​IMG]
     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>พระปฐมเจดีย์</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="70%">เป็นพระมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การที่ได้ชื่อว่าพระปฐมเจดีย์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสัณนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระเจดีย์เก่ากว่าพระเจดีย์อื่น ๆ ในประเทศสยาม สันนิษฐานว่าสร้างสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ที่เมืองนครไชยศรีในสมัยก่อน ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเมืองนครปฐม

    จากเอกสารเก่าที่บันทึกเรื่องนี้ไว้มีประวัติว่า พระปฐมเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ ก็มี พ.ศ. ๑๐๐๐ ก็มี พ.ศ. ๑๑๘๕ ก็มี พ.ศ. ๑๒๖๔ ก็มี พ.ศ. ๑๖๓๐ ก็มี ความสูง ๔๐ วา ๕ ศอก มีพระแท่นบรรทม ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม บรรจุพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว องค์หนึ่ง บรรจุพระบรมธาตุ หนึ่งทะนาน มีปรากฎก่อนพบพระพุทธบาท พระพุทธฉาย กว่าพันปี
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ในขณะที่ทรงผนวชอยู่และได้ไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ได้ทรงแสดงสภาพพระปฐมเจดีย์ไว้ว่า เป็นเพระเจดีย์ใหญ่ยอดปรางค์ ตอนหนึ่ง ฐานล่างกลมเป็นรูประฆัง ตอนหนึ่ง น่าจะทำมาหลายคราว คนทั่วไปเรียกว่า พระปทม เนื่องด้วย เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบรรทมที่นั่น จากฝีมือทำอิฐและก่อ แสดงว่าเป็นของทำมาเก่าแก่หลายครั้ง ที่เนินใหญ่เป็นกองอิฐหักลงมา เมื่อขุดลงไปสักสองสามศอกพบอิฐยาวศอกหนึ่ง หน้าใหญ่สิบสองนิ้ว หน้าน้อยหกนิ้ว ก่อเป็นพื้น น่าจะเป็นองค์พระเจดีย์เดิมหักพังลงมา แล้วมีการก่อพระเจดีย์ออกบนเนินเรียงรายอยู่สี่วิหาร
    มีวิหารพระนาคปรก วิหารพระไสยาสน์ วิหารไว้พระพุทธรูปต่าง ๆ และวิหารพระป่าเลไลย์ วิหารหลวงพระอุโบสถอยู่บนพื้นแผ่นดิน ตั้งแต่หลังเกาะสูงประมาณมีถึงห้าวา หลังเกาะขึ้นไปเป็นองค์พระเจดีย์กลม ๑๔ วา ๒ ศอก ปรางค์สูง ๒๐ วา ยอดนพศูลสูง ๘ ศอก รวมความสูงตั้งแต่หลังเกาะถึงยอดนพศูลสูง ๘ ศอก รวมความสูง ตั้งแต่หลักเกาะถึงยอดนพศูล ๔๐ วา ๒ ศอก
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองทำการปฏิสังขรณ์ และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยา ฯ ถึงแก่พิราลัย ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองดำเนินการต่อไป ได้จ้างพวกมอญทำอิฐ รวมทั้งทาสลูกหนี้ด้วย โดยคิดหักค่าตัวให้ จ้างจีนมาเผาปูน และ เป็นช่างก่อ เอาราษฎรจากเมืองนครไชยศรี เมืองสมุทรสาคร เมืองราชบุรีและเมืองพนัสนิคม โดยแบ่งคนออกเป็นสี่ผลัด เดือนละสองร้อยคน เมื่อก่อพระเจดีย์ได้สูง ๑๗ วา ๒ ศอก
    ต่อมาเกิดฝนตกหนักอิฐที่ก่อทรุดตัวลง เพราะฐานทักษิณไม่มี จึงต้องรื้อออกทำใหม่ โปรดเกล้า ฯ ให้ถมพื้นที่ลุ่มดอนให้เสมอกัน ก่อฐานใหญ่รอง ๕ เส้น ๑๖ วา ๓ ศอก องค์พระเจดีย์ถึงยอดนพศูล ตลอดยอดมงกุฏ สูง ๓ เส้น ๑ คืบ ๖ นิ้ว

    </TD><TD vAlign=top width="30%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="50%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE id=AutoNumber8 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=10 height=9>[​IMG]</TD><TD background=../../../../../images/bg/shadow_s_t.gif height=9>[​IMG]</TD><TD width=10 height=9>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=10 background=../../../../../images/bg/shadow_s_l.gif> </TD><TD vAlign=top align=middle><!-----เปลี่ยนลิ้งค์-----><!----------ใส่รูปตรงนี้ขนาด 350x220---------->[​IMG]</TD><TD width=10 background=../../../../../images/bg/shadow_s_r.gif> </TD></TR><TR><TD width=10 height=10>[​IMG]</TD><TD background=../../../../../images/bg/shadow_s_b.gif height=10>[​IMG]</TD><TD width=10 height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="50%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE id=AutoNumber9 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=10 height=9>[​IMG]</TD><TD background=../../../../../images/bg/shadow_s_t.gif height=9>[​IMG]</TD><TD width=10 height=9>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=10 background=../../../../../images/bg/shadow_s_l.gif> </TD><TD vAlign=top align=middle><!-----เปลี่ยนลิ้งค์-----><!----------ใส่รูปตรงนี้ขนาด 350x220---------->[​IMG]</TD><TD width=10 background=../../../../../images/bg/shadow_s_r.gif> </TD></TR><TR><TD width=10 height=10>[​IMG]</TD><TD background=../../../../../images/bg/shadow_s_b.gif height=10>[​IMG]</TD><TD width=10 height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อ่านประวัตินครปฐมแล้วเพิ่งจะจำได้ว่าพี่จงรักภักดีเคยบอกว่าเป็นคนนครปฐม
    ลืมไปเลยค่ะ สนุกดีนะคะที่ได้อ่านประวัติศาสตร์ต่างๆ ทำให้ได้รู้เรื่องราวของบรรพบุรุษ

    ตอนนี้บันทึกที่จะทำถวายพระอาจารย์สิงห์ทนเขียนเป็นลำดับๆไว้ดังนี้

    ลำดับการเขียนนี้จะเขียนโดยนำหลักฐานต่างๆมาวางเป็นลำดับไป เริ่มจาก<O:p</O:p
    ๑วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา นำแสดงถึงหลักฐานอันสมควรจะเป็นวัดป่าแก้วในด้านศิลปกรรม<O:p</O:p
    ๒วัดวรเชษฐ์ที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้าง<O:p</O:p
    ๓ โยงใยวัดวรเชษฐ์กับวัดไชยวัฒนาราม ด้วยพระเจดีย์และศิลปกรรม<O:p</O:p
    ๔ พระราชวงศ์ในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช<O:p</O:p
    ๕ ประวัติศาสตร์และตำนานต่างๆที่เกี่ยวข้องในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช<O:p</O:p
    ๖ บทสรุปท้ายบันทึก
    เพื่อให้แยกได้ค่ะ ถ้าต้องการหลักฐานการเป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา และวัดที่ปลงพระศพสมเด็จพระนเศวรมหาราชเท่านั้น ก็ใช้แค่สองบทแรกก็พอ
    แต่ถ้าบันทึกบทที่ สาม ถึงบทที่ หก มีประโยชน์ต่อวัด ก็คงได้เผยแพร่ทั้งหมดค่ะ
    จะจัดส่งพี่จงรักภักดีตรวจดูความเหมาะสมของเรื่องและภาษาก่อนค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2010
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตำนานเรื่องวัดสุดสวาท

    เนื่องจากบทที่ห้า เป็นการอ้างตำนานต่างๆ เพราะเรื่องราวต่างๆในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชล่วงเลยมากว่า 400 ปี หลายๆอย่างก็อยู่ในรูปของตำนานไปแล้ว จึงรวบรวมไว้ด้วย แต่อยู่ในหมวดหมู่ของตำนาน

    สำหรับตัวข้าพเจ้าเองคิดว่า ระดับพระมหากษัตริย์ท่านทรงมีพระสนมมากบ้างน้อยบ้าง ในบันทึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระอัครมเหสีและพระมเหสี เท่าที่มีบันทึกไว้ 3 พระองค์

    1 สมเด็จพระนางเจ้าสุวัฒน์มณีรัตนา (เจ้าขรัวมณีจันทร์) จากมอญตามความคาดเดาเดิม (ในความคิดทางสายธาตุคือทรงเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์จากกรุงจีน)
    2 เจ้านางโยธยามี้พระยา จากเชียงใหม่
    3 พระเอกกษัตรีย์ จากละแวก

    สำหรับความคิดของทางสายธาตุเอง คิดว่าอาจจะมีพระสนมอื่นๆอีกที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ ที่ไม่ได้บันทึกไว้อาจจะเพราะพระสนมเหล่านั้นไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของบ้านเมือง หรือไม่มีเชื้อสายเจ้าจึงไม่ได้บันทึกไว้

    อาทิ ตำนานวัดสุดสวาท บันทึกถึงพระสนมคนหนึ่งดังนี้

    ประวัติการสร้างวัด

    ในส่วนของวัดสุดสวาทดิ์นั้น ว่ากันว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับ วัดนางพญา โดยวัดสุดสวาทดิ์ นั้นเป็นวัดที่กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพิษณุโลก สร้างให้กับมเหสีที่รักมากที่สุด จึงตั้งชื่อให้ว่า "สุดสวาท" และมีการสร้าง พระนางสุดสวาทดิ์ ขึ้นมาด้วย พุทธคุณ เท่ากับ พระนางพญา วัดนางพระญา

    ตำนานวัดสุดสวาท จ.พิษณุโลก

    เรื่องราวของหมู่บ้านพลายชุมพล ที่เป็นชุมชนฝึกช้างพาหนะสำคัญในการทำศึกของสมเด็จพระนเรศวร เชื่อกันว่า ณ ที่นี้เป็น(หมู่บ้านชุมนุมช้างศึก)ของพระองค์ท่าน เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านรวมไปถึงอาชีพการฝึกช้างของคนที่นั่นด้วย กระทั่งวัดสุดสวาท ที่คนทั่วไปอาจไม่ค่อยคุ้นกับชื่อนี้ ต่างจากวัดใหญ่และวัดนางพญา แต่มีเรื่องเล่าว่า วัดสุดสวาทนี้เป็นวัดที่พระสนมของสมเด็จพระนเรศวรน้อยพระทัยพระองค์แล้วหนีมาบวชเป็นแม่ชีที่วัดนี้ จุดน่าสนใจคือที่วัดนี้แม่ชีจะมีบทบาทในการจัดการกิจกรรมของวัดมากกว่าพระ

    ยังมีตำนานวัดเทพกุญชร จ.พิษณุโลก ที่เป็นวัดที่สมเด็จพระนเรศวรได้มาพบพระคชาธารคู่พระบารมี นั่นคือเจ้าพระยาไชยานุภาพ แต่ไว้มีเวลาจะนำมาเขียนเนื่องจากเวปไซด์วัดเทพกุญชร จ.พิษณุโลก กดปุ่มก็อปปี้ไม่ได้ ต้องออกแรงพิมพ์เองค่ะ ^^

    ตำนานวัดสุดสวาทมาจากเวปไซด์
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [​IMG]

    คุยกับน้องโมเย เธอแนะนำให้ทางสายธาตุบูชาพระนางเจ้าสุวัฒน์มณีรัตนา (เจ้าขรัวมณีจันทร์) เพื่อขอพระบารมีของพระนางคุ้มครองตนค่ะ

    ทางสายธาตุคิดว่าจะใช้รูปนี้เพื่อไว้สักการะบูชาแทนพระนางเจ้าท่านค่ะ เพื่อกราบระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านได้เคยทรงบำเพ็ญไว้อย่างยิ่งยวดเต็มพระสติกำลังของพระองค์ท่าน

    (เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านค่ะ)​
     
  13. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    อนุโมทนา ด้วยค่ะ คุณพี่ทางสายธาตุ

    การที่คุณพี่ทางสายธาตุ ได้นำเสนอเรื่องราว ต่างๆ
    เกี่ยวกับพระนางเจ้าสุวัฒน์มณีรัตนา

    จากสิ่งต่างๆ ที่กำหนดให้ได้รู้นั้น

    ถือว่าได้เป็นการประกาศพระเกียรติ ของพระองค์
    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

    ชาวไทยจะได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ได้รู้จักพระองค์มากขึ้น
    เพื่อพระบารมีที่แผ่ไพศาล
    สมพระเกียรติแห่ง พระมเหสี ในสมเด็จพระนเรศวร

    ด้วยเหตุที่โมเยเคยกล่าวไว้ข้างต้นว่า

    เราไพร่ฟ้าประชาชนของพระองค์ทุกคน ล้วนต่างก็มีหน้าที่


    ขอให้ทุกภาระกิจของคุณพี่ทางสายธาตุ สำเร็จ ด้วยเทอญ




     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอขอบคุณคำแนะนำด้วยนะเจ้า แม่หญิง

    เมื่อสักครู่ได้รับทราบจากเพื่อนคนหนึ่ง เพิ่งไปบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พระอนุเสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

    ได้เข้าไปชมนิทรรศการสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยผู้บรรยายคือ อ.น้ำฝน ทองอินทร์ ท่านเป็นผู้ชายแต่ชื่อว่า น้ำฝน ท่านผู้นี้รู้จักกับพระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภด้วย ไปๆมาๆ รู้จักกันหมดค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2010
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กำลังอ่าน ถอดรหัสโอรสลับสมเด็จพระนเรศ
    ในหนังสือ ต่วยตูน พิเศษ ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๓๙๐ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๐
    เขียนโดย สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์

    ผู้ที่เข้าไปขอลดหย่อนผ่อนโทษให้พระหมื่นศรีสรรักษ์ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกได้ 5 เดือน คือ เจ้าขรัวมเหสีจันทร์ พระชายาม่ายของสมเด็จพระนเรศที่ยอมออกรับหน้า เจ้าขรัวมเหสีจันทร์จึงน่าจะมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งอย่างใดอย่างหนึ่งกับพระหมื่นศรีสรรักษ์ อย่างแน่นอน(ขณะนั้นพระหมื่นทรงพระชนม์ 18 พรรษา) พระนางจึงเป็นเดือดเป็นร้อนแทน

    ในกรณีนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่า เจ้าขรัวมเหสีจันทร์คงต้องการปกป้องพระหมื่นศรีสรรักษ์อันเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของสมเด็จพระนเรศ พระราชสวามี

    เจ้าขรัวมเหสีจันทร์ (Tjau Croa Mahadijtjan) อ่านและเขียนตามแบบต้นฉบับภาษาดัชต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2010
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขออนุโมทนากับคุณฟอร์ท และทุกท่านด้วยค่ะที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
     
  17. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อนุโมทนา ด้วยครับ

    .....ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองทำการปฏิสังขรณ์ และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยา ฯ ถึงแก่พิราลัย ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองดำเนินการต่อไป ได้จ้างพวกมอญทำอิฐ รวมทั้งทาสลูกหนี้ด้วย......

    นี่กระมังครับเป็นที่มาของคำว่า อิฐมอญ ?
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เมื่อศึกษาเรื่องแบบการสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มุมใหญ่เท่าๆกัน ปรากฏว่ามีสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เจดีย์ประธานวัดภูเขาทองและเจดีย์รายอีกสี่องค์
    เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่มุมใหญ่ๆนี้ นิยมถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หลังจากนั้นมุมเจดีย์ก็จะเล็กลงแต่ก็ยังเป็นย่อมุมไม้สิบสอง

    ดังนั้นถ้าต้องการหาร่องรอยประวัติศาสตร์ช่วงระหว่างสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปจนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สามารถตามจากองค์เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองชนิดมุมใหญ่นี้ได้

    ที่ทางสายธาตุเคยตามไปดูเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง จะมีที่วัดใหม่ชุมพล อ.นครหลวง สร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรม เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง วัดโปรดสัตว์ อ.บางปะอิน น่าจะได้อะไรเพิ่มอีกจากศิลปกรรมเฉพาะสมัยอย่างนี้ จะไปดูวัดทอง (สุวรรณขวัญเมือง) อ. บางปะหัน ติดใจชื่อวัดที่ตำนานเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงประทานชื่อ "สุวรรณขวัญเมือง" ให้กับวัด เป็นชื่อที่ไพเราะมาก

    พระพุทธรูปที่วัดน้ำฮู อ.ปาย มีนามว่า "หลวงพ่ออุ่นเมือง" เป็นชื่อที่ไพเราะค่ะ

    --------------------------------------------------------------------------------

    อิฐมอญ มีที่มาแบบนี้เอง มีความนัยแฝงอยู่ในรากฐานวัฒนธรรมของชาติแทบทุกอย่างเลยนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์ประฐานและเจดีย์รายวัดภูเขาทอง<O:p</O:p

    หนังสืองานช่างหลวง แห่งแผ่นดิน ศิลปะอยุธยา ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ หน้า ๙๕-๙๖ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ฐานสูงลาดแบบฐานของเจดีย์แบบมอญ-พม่า ซึ่งเป็นกรณีพิเศษ มุมที่เพิ่มยังมีขนาดใหญ่ สังเกตได้ชัดเจนที่เรือนธาตุ มาลัยเถาอันเป็นลวดบัวชนิดหนึ่งซ้อนต่อเนื่องขึ้นไปถึงทรงระฆัง สำหรับหลังคาของจัตุรมุขไม่มีเจดีย์ยอด อาจเป็นเพราะเลิกทำกันแล้ว หรืออาจเคยมีอยู่แต่ชำรุดมากในคราวบูรณะครั้งใดครั้งหนึ่งจึงงดไม่ทำ
    <O:p</O:p
    บันทึกของหมอแกมป์เฟอร์ซึ่งเข้ามาอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา เล่าเรื่องของเจดีย์ประธานวัดภูเขาทองไว้ว่า ไทยสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกได้ชัยชนะแก่กษัตริย์มอญอย่างใหญ่หลวง ย่อมน่าจะหมายถึงชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชใน พ.ศ. ๒๑๓๕ คราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชของพม่า ซึ่งสอดคล้องกับลำดับวิวัฒนาการของเจดีย์ที่กล่าวมาข้างต้น อนึ่งงานบูรณะครั้งสำคัญที่วัดนี้มีเมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ “ปีนั้นปฎิสังขรณ์เจดีย์และอารามวัดภูเขาทอง ๖ เดือนจึงสำเร็จ และในราว พ.ศ. ๒๕๐๐ กรมศิลปากรได้บูรณะครั้งใหญ่ ซึ่งคงมีส่วนทำให้ลักษณะเดิมโดยเฉพาะลักษณะของลวดบัวเปลี่ยนไปด้วย<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ภายในวัดภูเขาทองมีเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ก่อไว้เป็นเจดีย์รายสี่องค์ ขนาดกลาง แบบอย่างทำนองเดียวกับเจดีย์ประธานของวัด เพียงแต่ไม่มีฐานประทักษิณ มุมขนาดใหญ่ของเจดีย์รายทั้งสี่ยังสังเกตได้ชัดเจน แม้ว่าเรือนธาตุได้เริ่มหมดความสำคัญลงทุกที เช่นซุ้มจระนำเริ่มแนบชิดกับเรือนธาตุ เจดีย์รายทั้งสี่ก่อเรียงสองแถวในเกณฑ์สมมาตร สัมพันธ์กับตำแหน่งของเจดีย์ประธาน ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่าเป็นงานสร้างในคราวเดียวกันนั้น<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    <table id="post1278832" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="thead" style="border-style: solid none solid solid; border-color: rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 1px 0px 1px 1px; font-weight: normal;">8, 12:53 PM </td> <td class="thead" style="border-style: solid solid solid none; border-color: rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 1px 1px 1px 0px; font-weight: normal;" align="right"> #1 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->TupLuang<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_1278832", true); </script>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jun 2008
    ข้อความ: 3,265
    พลังการให้คะแนน: 365 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_1278832" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <center><!-- google_ad_section_start -->แค่"คิด" ยังไม่ทันได้ทำ ก็ต้องได้รับผลกรรม ...<!-- google_ad_section_end -->

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- google_ad_section_start --> <script type="text/javascript"><!-- google_ad_client = "pub-2576485761337625"; /* 250x250, created 31/01/09 */ google_ad_slot = "7252767143"; google_ad_width = 250; google_ad_height = 250; //--> </script> <script type="text/javascript" src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </script><script src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></script><script src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></script><script>google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</script><ins style="border: medium none ; margin: 0pt; padding: 0pt; display: inline-table; height: 250px; position: relative; visibility: visible; width: 250px;"><ins style="border: medium none ; margin: 0pt; padding: 0pt; display: block; height: 250px; position: relative; visibility: visible; width: 250px;"><iframe allowtransparency="true" hspace="0" id="google_ads_frame1" marginheight="0" marginwidth="0" name="google_ads_frame" src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-2576485761337625&output=html&h=250&slotname=7252767143&w=250&lmt=1265044559&flash=9.0.124&url=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff8%2F%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2588-%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2594-%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B3-%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1.133732/&dt=1265044563040&correlator=1265044563043&frm=0&ga_vid=1549994822.1253093453&ga_sid=1265043622&ga_hid=1064609358&ga_fc=1&ga_wpids=UA-7034934-1&u_tz=420&u_his=34&u_java=1&u_h=800&u_w=1280&u_ah=770&u_aw=1280&u_cd=32&u_nplug=23&u_nmime=113&biw=1212&bih=605&ref=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2F&fu=0&ifi=1&dtd=42&xpc=jqSkRYMwkP&p=http%3A//palungjit.org" style="left: 0pt; position: absolute; top: 0pt;" vspace="0" width="250" frameborder="0" height="250" scrolling="no"></iframe></ins></ins>
    [​IMG]

    ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ทรงตรัสแก่พระภิกษุ และเหล่าพุทธบริษัทเพื่อให้สลดสังเวชว่า กรรมแม้แต่ที่เกิดจากการคิด ก็เป็นกรรมที่ต้องได้รับผลกรรมนั้น แม้แต่เป็นพระโพธิสัตว์ผู้สร้างบารมีเอง มีบุญมากกว่ามนุษย์ปรกติธรรมดาแต่ บางครั้ง กิเลสก็ยังเข้าครอบงำได้ ทำให้ท่าน เมื่อสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังต้องทรงได้รับผลกรรม ไม่มีใครหลีกพ้นกรรมได้ จึงควรที่ท่านพุทธศาสนิกชน ผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งของชีวิตสั้นๆ นี้จะระลึกอยู่เสมอว่า แม้แต่พระโพธิสัตว์ ยังมีกิเลสทำกรรมไม่ดีได้ขนาดนี้ เราที่ยังเป็นปุถุชน ถ้าไม่ระมัดระวัง กิเลสของเรา วันหนึ่ง หรือแม้แต่ตอนนี้ จะเผลอทำกรรมร้าย ๆ ขนาดไหน

    บางท่าน อาจจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ฆ่ามด แต่บางครั้งกิเลสก็อาจมีความคิดในใจว่าอยากให้มดตาย ยุงตาย เผลอขึ้นมา กรรมเหล่านี้ และกรรมอื่น ๆ เช่น พูดโกหก ลักทรัพย์ โกรธใคร หลอกลวง อิจฉา ดูหมิ่นคนอื่น หรือเกิดมีคิดไม่ดี อื่น ๆ เกิดขึ้นในใจ สิ่งเหล่านี้ในคัมภรีพระอภิธรรมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๕ ซึ่งได้จำแนกมาแล้วและในพระไตรปิฎกเองก็ได้กล่าวว่า "แค่คิดไม่ดี" ก็บาปแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงทำเลย


    ซึ่งกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส มีตัวอย่างสั้น ๆ ตอนหนึ่งดังต่อไปนี้ครับ

    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
    ๑. พุทธาปทาน


    ปัญหาข้อที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

    อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่าสีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.

    ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง.


    วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยังที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัส(ดีใจ)ให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตายนั้น(เห็นปลาถูกฆ่าตายแล้วดีใจ) แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกันก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้นเหมือนกัน.


    ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ นานแสนนานใน อัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดในตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้น แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความเจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้นถึงความพินาศกันหมดในสงครามของเจ้าวิฑูฑภะ โดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท.


    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

    เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลา
    ทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น.
    เพราะวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะได้มีแก่เรา
    แล้ว ในคราวที่เจ้าวิฑูฑภะฆ่าสัตว์ทั้งหมด (คือเจ้าศากยะ)
    แล้ว.




    ขออนุโมทนา และขอบคุณ

    คุณ
    TupLuang ที่นำสาระธรรมดีดีมาเสนอ

    และขอขอบคุณแหล่งที่มาด้วยค่ะ



    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...