ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ประวัติความเป็นมาของการจัดสร้าง พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดดอยไตแลง

    [​IMG]

    โครงการสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ประดิษฐาน ณ วัดดอยไตแลง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
    -----------------------------------
    ชื่อโครงการ ----การสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    โครงการของ----กองทุนไชยานุภาพ พิษณุโลก

    ประธานที่ปรึกษา----คุณกุลิสลา บุญทับ

    ประธานอุปถัมภ์----มูลนิธินักรบไทย อนุสรณ์สถานเทวาลัย ไทรทองเทพนิมิต อ.โชคชัย จ. นครราชสีมา

    ผู้ประสานงาน----พระมหาฤทธิชัย กัลยาโณ เจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์วัดยางวนาราม จ.พิษณุโลก

    ระยะเวลาโครงการ----เดือนมีนาคม 2550 เป็นต้นไป ภายในเวลา 1 ปี

    1. หลักการและเหตุผล
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุบัติมาเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และกู้ชาติกู้ แผ่นดิน ทรงเป็นกษัตริย์นักรบยากยิ่งที่หานักรบใดเสมอเหมือน ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เปี่ยมล้นด้วยกฤษดาภินิหาร จนเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ชนชาติน้อยใหญ่ในภาคสุวรรณภูมิ (อุษาคเณย์) ทรงแผ่เดชพระบารมีโพธิสมภาร เป็นที่พึ่งแก่ชนชาติต่าง ๆ เช่น มอญ ไทยใหญ่ ไทยล้านนา ไทยล้านช้าง ได้อาศัยพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ผ่านพ้นจากข้าศึกรุกราน 50 ปีของพระชนม์ชีพ และกาลต่อมาจึงเป็นช่วงของการ เปลี่ยนแปลงจากความทุกข์พลัดพรากมาเป็นความสุขสงบ จากความร้อนของสงครามเป็นความร่มเย็นของประชาราษฎร์ชาติน้อยใหญ่ ทรงสำแดงทศพิธราชธรรมให้ปรากฏท่ามกลางกษัตริย์น้อยใหญ่ผู้มาสวามิภักดิ์
    อนึ่งดอยไตแลง เป็นพื้นที่ชนชาติไทยใหญ่เขตไทย ไทยใหญ่เขตรัฐฉาน (พม่า) และไทยล้านนา ไปมาหาสู่ติดต่อกันฉันท์ญาติมิตร วัดดอยไตแลงก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจทางศาสนา เพื่อให้ชาวพุทธได้ทำหน้าที่บำเพ็ญบุญสร้างบารมี บวชกุลบุตร เป็นภิกษุ – สามเณร ศึกษาธรรมวินัย สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา วัดดอยไตแลงจึงเป็นพื้นที่รองรับศรัทธาของชนชาติทั้งสองแผ่นดิน
    การสร้างพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อประดิษฐาน ณ วัดดอยไตแลง เพื่อเป็นที่กราบสักการะแก่ชนชาติไทยใหญ่และคนไทยตามแนวชายแดน ตลอดถึง นักท่องเที่ยวแสวงบุญ และเป็นขวัญกำลังใจแด่ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะด่านขุนไต ซึ่งอยู่ติดเขตไทย – พม่า อีกประการหนึ่งเพื่อปลูกฝังความเป็นไทย อันเดียวกันให้เกิดขึ้นตามหมู่บ้านชายแดนเพื่อประโยชน์ในการปกครองดูแล และปราบปรามยาเสพติดที่ไหลทะลัก เข้าสู่ประเทศไทยทางภาคเหนือของประเทศไทยให้น้อยลง

    2. วัตถุประสงค์
    1. เพื่อรำลึกถึงบรรพชนผู้ปกป้องชาติแผ่นดินถิ่นศาสนา
    2. เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่ชนในชาติ
    3. เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแด่ทหารหาญ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดนไทย
    4. เพื่อเป็นสายสัมพันธ์อันดีของชนชาติไทยใหญ่ ไทยล้านนา ไทยสยาม อันเป็นต้นตระกูลไทยด้วยกันให้มั่นคง และเกิดประโยชน์ในอนาคตอันยาวไกล
    5. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทางศาสนา
    6. เพื่อเป็นอนุสติความรักชาติรักแผ่นดิน
    7. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง การทหารแต่ประการใด

    3. การดำเนินการ
    1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
    2. ประสานงานเจ้าภาพร่วมทำบุญตามศรัทธา
    3. หล่อพระรูป ณ โรงหล่อบึงถังปฏิมากรรม จ.พิษณุโลก (ปัจจุบันหล่อสำเร็จแล้ว)
    4. ขั้นตอนพิธีอัญเชิญพระบรมรูปฯ
    - พิธีถวายเครื่องบายศรีสักการะ
    ณ พระราชวังจันทน์
    - พิธีถวายบายศรีเครื่องสักการะ ณ วัดพระศรี-รัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

    - จุดพิธีรายทาง ศาลพระแม่ย่า
    พ่อขุนรามคำแหง จ.สุโขทัย และจุดสำคัญที่เห็นสมควรเกี่ยวกับสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช
    5. พิธีบวงสรวงประดิษฐาน ณ วัดดอยไตแลง จ.แม่ฮ่องสอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • K6356961-1.jpg
      K6356961-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.4 KB
      เปิดดู:
      2,371
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434

    [​IMG]

    พิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรเริ่มในวันที่ 19 พ.ค. 2550 โดยอัญเชิญจากอนุสรณ์สถานเทวาลัยไทรทองเทพนิมิต มูลนิธินักรบไทย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา จากนั้นจะอัญเชิญไปบูชาในสถานที่สำคัญต่างๆตลอดรายทาง เช่น จ.พิษณุโลก จ.เชียงใหม่ ก่อนจะนำไปประดิษฐานไว้บนดอยไตแลง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    [​IMG]

    แผนที่วัดดอยไตแลง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

    [​IMG]

    [​IMG]


    อ้างอิง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    พระบาทประทับทั่วไทย 'ตามรอยพระราชา'

    วันเสาร์ ที่ 23 มกราคม 2553 เวลา 0:00 น


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    มหาราช 'พ่อแผ่นดิน'

    "เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ และเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยเข้าสู่ปีที่ 60 ของวันบรมราชาภิเษก 5 พ.ค. 2553” ...นี่เป็นวัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่ง เป็นวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง ในการจัดทำ โครงการสารคดี “ตามรอยพระราชา” ซึ่งจะเผยแพร่สู่ประชาชนคนไทยเร็ว ๆ นี้

    “ตามรอยพระราชา” คุณค่าจะสูงยิ่งเกินกว่าสารคดี

    ด้วย “พระมหากรุณาธิคุณล้นพ้น” ต่อเหล่าปวงไทย

    ทั้งนี้ โครงการสารคดีเฉลิมพระเกียรติ “ตามรอยพระราชา” โครงการนี้ ทางกองทัพบก กรมกิจการพลเรือนทหารบก ร่วมกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด และ ปตท., ธนาคารธนชาต, ดีแทค ร่วมกันจัดทำขึ้น โดย พล.ต.กฤษฎา อารีรัชช กุล เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก เผยว่า... เนื้อหาของรายการสารคดีชุดนี้จะชี้ให้ประชาชนคนไทยได้เห็นถึงผลสำเร็จของการดำเนิน การตามรอยพระราชดำริ โดยการนำหลักทฤษฎี “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

    “ที่สำคัญยิ่งคือ สะท้อนให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชวิริยอุตสาหะของพระองค์ท่าน ที่มิทรงย่อท้อ ทรงบุกบั่นไปในทุกพื้นที่ เพื่อพสกนิกรชาวไทย”

    ด้าน สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ กรรมการผู้จัดการ ทีวีบูรพา ก็เผยว่า... เนื้อหาและรูปแบบรายการสารคดีสำคัญชุดนี้ จะมีทั้งหมด 12 ตอน ประกอบด้วย... เย็นศิระ ณ ดอยสูง ตอน 1 และ 2, เปลี่ยนฟ้าสีหม่นบนดอย, น้ำพระทัยชุ่มดินถิ่นอีสาน, ห้วยทรายไม่ต้อง กลายเป็นทะเลทราย, แหลมผักเบี้ย ต้นแบบการเยียวยา ป่า น้ำ ดิน, แก้มลิง, ปฐมโครงการพระราชทาน, จากฝายแม้ว...สู่ขุนเขื่อน, ฝนหลวง : น้ำพระทัยจากฟากฟ้า, พลิกฟื้นผืนดิน...เกษตรทฤษฎีใหม่, ราญอ...กีตอ พระราชาแห่งข้าบาท

    ทั้งหมดนี้จะเป็นการเล่าเรื่องราวผ่านตัวบุคคลที่เคยร่วมเหตุ การณ์สำคัญ ในครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อบรรเทาปัญหาให้กับเหล่าพสกนิกร โดยเป็นการนำเสนอย้อนจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ที่พระองค์ท่านได้ทรงนำพาความเจริญรุ่งเรืองสู่ปวงชนชาวไทยในทุกพื้นที่

    “จะเป็นเรื่องราวที่เชื่อว่าหากคนไทยได้รับชมก็จะอิ่มเอมใจไม่แพ้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ รวมทั้งเชื่อว่าจะทำให้ทุกคนได้เห็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย จากพระเมตตาของในหลวง”

    รายการสารคดี “ตามรอยพระราชา” จะออกอากาศ “ทุกวันเสาร์สุดท้ายของทุกเดือน” ตลอดปี 2553 นี้ ทาง ททบ.5 เวลา 23.15-00.10 น. โดยตอนแรกคือ เย็นศิระ ณ ดอยสูง ตอน 1 กับการตามรอยการเสด็จฯสู่บนดอยสูงเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2512 ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 30 ม.ค. 2553

    “...60 ปีมาแล้ว ที่ รอยพระบาทของพระราชาได้ประทับไว้บนแผ่นดินไทยทุกหนแห่ง ไม่เว้นแม้ดินแดนทุรกันดารอันห่างไกลที่ไม่เคยมีใครย่างกรายไปถึง ภาพของ พระราชาผู้เป็นมหาราชของปวงชนชาวไทย ผู้ได้ละทิ้งซึ่งความสุขสบายเพื่ออุทิศพระวรกาย อุทิศพระชนมายุ และอุทิศพระราชหฤทัยของพระองค์ ทุ่มเทลงเพื่อปัดเป่าความทุกข์ และบำรุงความสุขของพสกนิกรทั้งแผ่นดิน เป็นภาพที่ประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยไม่รู้ลืม ไม่ใช่แค่เพียงคนไทยเท่านั้นที่พระมหากรุณาธิคุณขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พลิกฟื้นจนลุกขึ้นยืนหยัดอยู่บนลำแข้งของตัวเอง แต่ยังแผ่ปกไปถึงกลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

    40 ปีมาแล้ว ที่พระราชกรณียกิจอันเหนื่อยยากของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนขุนเขาที่เคยปกคลุมไปด้วยไร่ฝิ่นนับหมื่นไร่ ซึ่งในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตฝิ่นได้ถึงปีละ 200 ตันให้กลายเป็นที่ทำกินของกลุ่มชาวเขาหลายชนเผ่า ต้นน้ำลำธารและป่าเขาที่เคยถูกโค่นเผาทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอย ได้ถูกแทนที่ด้วยพืชผัก ผลไม้เมืองหนาว ภายใต้การดำเนินงานของโครงการส่วนพระองค์ ที่มีชื่อว่า โครงการหลวง

    พระองค์ทรงใช้พระวิริยอุตสาหะตรากตรำพระวรกายมากว่า 4 ทศวรรษ จนกระทั่งสามารถพลิกฟื้นชีวิตชาวเขานับแสนคนให้สามารถลงหลักปักฐานด้วยอาชีพที่ยั่งยืน ผืนป่าต้นน้ำถูกฟื้นฟูบูรณะ เส้นทางค้ายาเสพติดถูกตัดวงจร และชนกลุ่มน้อยที่เคยสั่นคลอนอธิปไตยของชาติกลับกลายเป็นกลุ่มคนที่เรียกแผ่นดินไทยว่า แผ่นดินพ่อ.....” ...นี่เป็นภาพกว้าง ๆ โดยย่อที่คนไทยจะได้สัมผัสในสารคดี “ตามรอยพระราชา” ตอนแรก ซึ่ง ณ ที่นี้-ด้วยตัวอักษร คงไม่อาจฉายภาพโดยละเอียดทั้งหมด

    อย่างไรก็ดี กับความรู้สึกของผู้ที่มีส่วนในการจัดทำสารคดีชุดนี้ น่าจะสะท้อนภาพได้ในระดับหนึ่ง อย่างเช่นความรู้สึกของ สุทธิพงษ์ แห่งทีวีบูรพา ที่บอกว่า... “ได้สืบสานตามรอยเท้าของพ่อแห่งแผ่นดินนับเป็นความภาคภูมิใจที่หาที่สุดไม่ได้” และความรู้สึกของ พล.ต.กฤษฎา เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก ที่บอกไว้ว่า... “จะทำ ให้คนไทยสำนึกรู้ในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมร่วมสานต่อพระราชปณิธาน...

    เพื่อร่วมใจกันสานต่อพระราชปณิธานให้สำเร็จลุล่วง

    อันจะนำมาซึ่งความสุขของปวงชนชาวไทยทุกคน”.





    *ที่มา Daily News Online





     
  4. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205
    [​IMG]



    ด้วยความคารวะและชื่นชม แม่ชีน้อย พอฟ้า พรรณเชษฐ์

    สาธุ ขออนุโมทนาบุญ ค่ะ
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขออนุโมทนากับพี่จงรักภักดีและพี่ศรัทธา_พิสุทธ์ค่ะ

    แม่ชีน้อยมีประวัติเป็นมาอย่างไรค่ะ พี่ศรัทธา_พิสุทธ์นำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

    รอฟังค่ะ
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [​IMG]

    แผนที่เส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ
    เชียงใหม่-เมืองกื้ด-เมืองคอง-เมืองแหง-เมืองนาย
    (พม่า)


    **** บทคัดย่อ ****
    การวิจัย เรื่อง “การศึกษาเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ: เชียงใหม่ เมืองกื้ด เมืองคอง เมืองแหง เมืองนาย (พม่า)
    ป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร่องรอย หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสงครามและการค้าขายสมัยโบราณ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๐๑ -๒๔๘๖ ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตง ระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเปียงหลวง ตำบลแสนไห และตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว ตำบลกื้ดช้าง ตำบลบ้านช้าง และตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การศึกษาเอกสาร การเดินสำรวจภาคสนาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
    ๑. พบร่องรอย หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสงครามตั้งแต่สมัยพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ ถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังนี้ ที่ตั้งวัดร่ำเปิง(ร้าง)และที่ตั้งวัดแม่ขะจาน(เดิม)ซึ่งถูกกองทัพพม่าจุดไฟเผา บริเวณที่ตั้งค่ายทหารพม่า ห้วยกุ๊บกั๊บ ห้วยม่านลอย หอก ดาบโบราณ ผาตั๊พม่าน พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่งที่ชาวเมืองแหงนำไปฝังดินเพื่อหลบซ่อนทหารพม่า พระมาลาที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระมาลาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บ่อน้ำช้างศึก ทุ่งดอนแก้ว พระธาตุแสนไห บ้านช้าง บ้านเมืองกื้ด บ้านน้ำดาบ ช่องทางหลักแต่ง ด่านตรวจประจำเส้นทางสู่เมืองแหง ที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่น สุสานทหารญี่ปุ่น หลุมทิ้งระเบิดใกล้ค่ายทหารไทยหน่วยก่อสร้างเส้นทางยุทธศาสตร์ตามสายแม่น้ำแตงเพื่อไปยังประเทศพม่า สภาพเส้นทางยุทธศาสตร์เดิมที่ขุดด้วยจอบ สนามเพลาะทหารญี่ปุ่นและบริเวณพื้นที่เครื่องบินรบของฝ่ายสัมพันธมิตรตก
    ๒. พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยพบร่องทางเดินของวัวต่าง ช่วงระยะทางระหว่างเมืองกื้ดกับเมืองคอง บริเวณท่าข้ามแม่น้ำแตง หมู่บ้านสบก๋าย และบริเวณท่าข้ามห้วยแม่กอก หมู่บ้านป่าข้าวหลาม ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาและเหรียญเงินตราโบราณ
    การพบร่องรอยหลักฐานทั้งด้านการสงครามและการค้า ตลอดจนประจักษ์พยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ และพ่อค้าวัวต่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ยืนยันได้ถึงความสำคัญและความมีอยู่จริงของเส้นทางตามสายน้ำแม่แตงแห่งนี้ ซึ่งเป็นทั้งเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ
    เส้นทางประวัติศาสตร์สายนี้ ควรได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นรูปธรรม จากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อดำเนินการให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงประวัติศาสตร์ ที่สำคัญสายหนึ่งของชาติไทย.

    [​IMG]

    พี่จงรักภักดี หรือน้องโมเย พอจะทราบไหมคะว่าเครื่องถ้วยชามที่ขุดพบที่คูเมืองเวียงแหงนี้จัดแสดงไว้ที่ไหน
    เผื่อว่าจะเห็นลายบนถ้วยชัดๆหรืออาจจะมีหนังสือจีนกำกับ หลักฐานพวกนี้พอบอกรัชสมัยที่ผลิตได้ค่ะ นี่อาจแสดงให้เห็นว่ามีการใช้ถ้วยชามภาชนะจีนในกองทัพด้วยก็เป็นได้นะคะ

    นำบทความของ

    หัวหน้าโครงการวิจัย ชัยยง ไชยศรี
    อำนวยการวิจัยโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

    อ้างอิงเวปไซด์
    No title


     
  7. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    อนุโมทนา

    ขอบพระคุณ คุณพี่ศรัทธา_พิสุทธ์ มากค่ะ

    ที่นำภาพแม่ชีน้อย มาให้ชม

    ครั้งแรกที่เห็นภาพของแม่ชีน้อย

    น้ำตาแห่งความปิติใจ ก็ไหลออกมาแบบ ไม่รู้ตัว


    ขออนุโมทนา กับแม่ชีน้อย ด้วยค่ะ
     
  8. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ถ้วยชามที่พบ ต้องขอไปกราบเรียนถาม เจ้าอาวาสวัดเมืองกึ๊ด
    และอาจารย์ไชยยงด์ อีกครั้งค่ะ ว่า ปัจจุบัน เก็บไว้ที่ใด

    แล้วจะแจ้งมาให้ทราบนะคะ


    อนุโมทนา ค่ะ
     
  9. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE class=tborder id=post2885038 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] วันนี้, 02:12 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #19 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Likely<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2885038", true); </SCRIPT>
    ทีมผู้ดูแลแกลเลอรี่

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Aug 2008
    อายุ: 18
    ข้อความ: 3,840
    พลังการให้คะแนน: 1193 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    </TD><TD class=alt1 id=td_post_2885038 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->เอามาจากพันทิปค่ะ

    PANTIP.COM : Q8795796

    ากประสบการณ์ของเรา..เราได้เข้าไปวิปัสสนาที่นี่ใน ช่วงปีใหม่เพื่อภาวนาข้ามปีที่น้องฟ้ายังคงครองศีล 8 อยู่ค่ะ.. และวันสุดท้ายที่เราออกจากวิปัสสนาเป็นวันเดียวกับที่น้องฟ้าสึกค่ะ.. เพื่อนๆทราบไหมคะว่าทำไมน้องฟ้าจึงบวช..น้องฟ้าบวชให้คุณทวด ที่เพิ่งเสียชีวิตไป เห็นเด็กผู้ชายในภาพไหมคะ.. เป็นพี่ชายของน้องฟ้าซึ่งก็บวช เหมือนกันค่ะ แต่บวชเณร.. แต่นี่เป็นการตัดสินใจโดยสมัครใจของเด็ก วัยเพียง 5 ขวบค่ะ เราว่าเรื่องของความเข้าใจของเด็กเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์..

    น้องฟ้า สมัครใจที่จะบวชโดยปราศจากการบังคับจากผู้ปกครองค่ะ..เป็นจิตกุศลที่เป็น บริสุทธิ์ ธรรมมะไม่มีคำว่าเร็วไปหรือช้าไปหรอกค่ะ..อยู่ที่ใจของผู้

    ปฏิบัติ มากกว่านะคะ ที่ทราบเนื่องจากคุณแม่ได้สัมภาษณ์น้องฟ้าให้ฟังค่ะ โดยเรียกน้องว่า "สาวิกาฟ้า" ต้องชื่นชมคุณพ่อ คุณแม่น้องเค้านะคะที่ปลูก

    ฝัง ธรรมมะความมีกตัญญูกตเวทีตั้งแต่เด็ก น้องฟ้าตัวจริง สวยแต่สว่างและหอมโดยปราศจาก เครื่องสำอางค์ใดๆ แต่สวยด้วยธรรม สว่างด้วยความกตัญญู และหอมด้วยความบริสุทธิค่ะ
    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG]
    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("2885038")</SCRIPT> [​IMG] </TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>[​IMG] [​IMG] [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  11. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    เมื่อครั้งที่ไปวัดพระธาตุแสนไห กำลังบูรณะซ่อมแซม ไม่ได้ชมอะไรกันมากนัก

    กอร์ปกับจะต้องรีบเดินทางต่อไปยังเวียงแหง เเต่จำได้ว่า อ.ไก่ (ดร.สุธาทิพ )

    ได้พอมีเวลาไปชมและสนทนากับเจ้าอาวาส คงจะพอทราบในรายละเอียดบ้าง

    ครับ ว่างๆต้องขอเชิญ นะครับ คุณ sutatip_b
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ถ้วยกระเบื้องจีนที่วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม ตรงสมัยจักรพรรดิว่านลี่

    จักรพรรดิว่านลี่ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2116 - 2162 ตรงกับรัชสมัย

    1 สมเด็จพระมหาธรรมราชา
    2 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    3 สมเด็จพระเอกาทศรถ
    4 สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์
    5 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

    ถือว่าการขุดพบภาชนะเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัยกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชค่ะ น่าสนใจ

    วัดหนานช้าง

    การขุดแต่งโบราณสถานวัดหนานช้างในระหว่างวันที่ ๒๕ และ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กลุ่มเครื่องถ้วยจีน ๒ กลุ่ม จำนวนรวม ๕๕ ใบ

    กลุ่มแรกเป็นกลุ่มจานขนาดเล็กเขียนลายสีน้ำเงินใต้เคลือบจำนวน ๘ ใบ สภาพสมบูรณ์จำแนกลวดลายที่ตกแต่งได้ ๒ กลุ่ม คือลายสวนหิน ๔ ใบ และลายหงส์แบบจีน ๔ ใบ พบวางตะแคงเรียงซ้อนกันในชั้นทรายตะกอนน้ำพาบริเวณพื้นที่ลาดด้านทิศตะวันตกของพนังดินหน้าวัดหนานช้าง ระดับล่างของชั้นดินนี้มีเศษถ่านและอินทรียวัตถุอื่นๆ ปะปนอยู่จำนวนหนึ่ง จากลักษณะและตำแหน่งของกลุ่มจานที่พบวางเรียงตะแคงซ้อนกันเป็นกลุ่ม แสดงว่ากลุ่มจานเหล่านี้ถูกมัดหรือบรรจุในลังไม้และอาจไหลลงมาจากบนยอดพนังดินซึ่งอาจเป็นที่อยู่อาศัย เนื่องจากในตำแหน่งใกล้เคียงได้พบร่องรอยของบ่อน้ำสร้างอยู่ในแนวพนังดินด้วย

    กลุ่มที่ ๒ พบบรรจุอยู่ในไหเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลถูกขุดฝังอยู่ใต้ชั้นดินทับถมพังทลายใต้ชั้นตะกอนทรายที่ทับถมกันหนาประมาณ ๑.๓๐-๑.๕๐ เมตร มีการวางเรียงอิฐกั้นระหว่างลำตัวไหและทรายบริเวณรอบๆ ปากไหปิดทับด้วยถาดสัมฤทธิ์และมีก้อนอิฐปิดทับ ๓ ก้อน ภายในไหบรรจุเครื่องถ้วยจีนและเครื่องใช้สัมฤทธิ์รวม ๕๑ รายการ เครื่องถ้วยเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พบทั้งประเภทเขียนลายด้วยสีน้ำเงินใต้เคลือบและลายเขียนด้วยสีเหลือง แดง เขียว ฟ้า และน้ำตาลเป็นรูปสัตว์และพรรณพฤกษาต่างๆ หลายชิ้นมีอักษรจีนจารึกใต้ก้น และ ๑ ในจำนวนนี้ มีหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นความสำคัญของบุคคลเป็นเจ้าของเครื่องถ้วยจีนกลุ่มนี้ และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและจีนที่ไม่เคยปรากฏในเอกสารพื้นเมืองล้านนาฉบับใดๆ

    เครื่องถ้วยจีนดังกล่าว เป็นจานลายคราม ที่ก้นด้านในเขียนลายหงส์แบบจีน ๒ ตัว ลำตัวด้านนอกเขียนลายหงส์แบบจีน ๑ ตัวและลวดลายพรรณพฤกษา ใต้ก้นด้านนอกเขียนอักษรจีน ๖ ตัว เขียนเรียงกันในแนวตั้ง ๒ แถว ความว่า "ต้า หมิง วัน ลี่" ระบุว่าจานใบนี้ทำขึ้นในสมัยพระเจ้าวั่นลี่แห่งราชวงศ์หมิงซึ่งครองราชย์ในประเทศจีนในช่วง พ.ศ. ๒๑๑๖-๒๑๖๒

    ความสำคัญของจานใบนี้คือเป็นภาชนะที่ผลิตขึ้นในเตาหลวงภายใต้พระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าวั่นลี่เพื่อใช้เป็นเครื่องต้นสำหรับพระจักรพรรดิและมเหสี หรือเพื่อพระราชทานแก่พระมหากษัตริย์ของดินแดนที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและได้รับการยอมรับในพระราชอำนาจจากจักรพรรดิจีนเท่านั้น ไม่ใช่ภาชนะของบุคคลทั่วไป๒๘ และหากเป็นการได้มาโดยเป็นของตอบแทนบรรณาการแล้ว เครื่องถ้วยชิ้นนี้ ย่อมเข้ามาสู่ล้านนาโดยการพระราชทานของพระเจ้าวั่นลี่ในช่วงเวลาที่พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิของประเทศจีน

    ลักษณะการฝังไหซึ่งบรรจุกลุ่มภาชนะเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หมิง พบว่าอยู่ในชั้นดินที่ต่ำกว่าระดับฐานรากของอาคารโบราณสถานวัดหนานช้าง ๒๐-๓๐ ซม. และมีซากปรักหักพังของอิฐปะปนอยู่ในชั้นดินตอนบนใต้ชั้นตะกอนทรายโดยไม่พบร่องรอยการขุดลงมาจากชั้นดินตอนบน แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป็นการฝังเพื่อต้องการซุกซ่อนสมบัติเหล่านี้

    หากลำดับเวลาของการปรากฏของเครื่องถ้วยชิ้นหนึ่งที่มีพระนามของจักรพรรดิวั่นลี่ ผู้ครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๑๖-๒๑๖๒ กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแผ่นดินล้านนา พบว่าเป็นช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในสภาวะวุ่นวายมีการแย่งชิงอำนาจทั้งจากภายในและภายนอก โดยเฉพาะในช่วงหลังสมัยของพระนางวิสุทธิเทวีเชื้อสายของราชวงศ์มังรายองค์สุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๑๒๐ พม่าได้แต่งตั้งมังนรธาช่อขึ้นปกครองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๑๐๒-๒๑๕๐) ในช่วงนี้เกิดการจลาจลเนื่องจากการแย่งอำนาจของกลุ่มการเมืองในพม่า ทำให้ขุนนางพม่าที่ปกครองล้านนาต่างแย่งชิงอำนาจกันด้วย และใน พ.ศ. ๒๑๔๑ ทัพกรุงศรีอยุธยาจึงยกขึ้นมาตีบ้านเมืองรายรอบเมืองเชียงใหม่ได้๒๙ ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๑๗๔ เจ้าเมืองเชียงใหม่ถูกจับไปหงสาวดี๓๐

    ดังนั้นเจตนารมณ์ของการฝังซ่อนสมบัติที่วัดหนานช้าง อาจมีสาเหตุมาจากความวุ่นวายของบ้านเมืองในช่วงนั้น และหากนำมาเชื่อมโยงกับเหตุกาณ์ทางธรรมชาติที่พื้นเมืองเชียงแสนระบุถึงการเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ใน พ.ศ. ๒๒๐๐ ความว่า "...สกพทได้ ๑๐๑๙ ปีเมิงเร้า (พ.ศ. ๒๒๐๐) น้ำท่วมเมืองชุแห่ง พระแสนเมือง ได้เป็นเจ้าฟ้าแล้ว มานั่งเมืองแล..." ๓๑ สอดคล้องกับพงศาวดารโยนกที่ระบุว่า "...ลุศักราช ๑๐๑๙ ปีระกา นพศก บังเกิดน้ำเหนือหลากมามาก ท่วมเมืองทุกแห่ง พระแสนเมือง ได้กลับจากกรุงอังวะในปีนั้น..." ๓๒ ทำให้แปลความได้ว่า เครื่องถ้วยจีนกลุ่มนี้ถูกฝังก่อนเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ด้วย

    เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใน พ.ศ. ๒๒๐๐ จนถึงสมัยพระยาสุลวฤาไชย (หนานทิพย์ช้าง) เหตุการณ์เกี่ยวกับเชียงใหม่ได้ถูกจดบันทึกเพียงข้อความสั้นๆ และไม่ปรากฏชื่อของเวียงกุมกามในบรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่ก่อการจลาจลหลังการทิวงคตของพระยาสุลวฤาไชยใน พ.ศ. ๒๓๐๒ ทั้งที่เอกสารดังกล่าวระบุชื่อเมืองต่างๆ ที่ก่อการจลาจลมากมายไม่เว้นแม้แต่ชุมชนขนาดเล็ก เช่น สะปุง และร้องจี่ "...ยามนั้น บ้านเมืองทั้งมวลข้ำเขือกเยือกไหวไผเมืองมัน ชิงกันเป็นเจ้าเป็นนาย เกิดเป็นโกลาหลชุแห่ง ลำพูน เชียงใหม่ บ้านสัน วังพร้าว ทะกาน หนองหล้อง ร้องจี่ จอมทอง สะปุง ป่าซาง บ้านเหนือรบบ้านใต้ บ้านใต้รบบ้านเหนือ เป็นเสี้ยนศึกฆ่าฟันกัน..." ๓๓ อย่างน้อยแสดงว่า ความเป็นบ้านเมืองของกุมกามไม่ปรากฏแล้วตั้งแต่ตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ ๒๔

    ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งจากการขุดแต่งบริเวณด้านทิศตะวันออกของวัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย และวัดหนานช้างซึ่งเป็นแนวที่อยู่ถัดแนวปิงห่างมาทางตะวันตก พบแนวพนังดินทอดยาวจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ ใต้แนวพนังดินดังกล่าวพบโกลนดินของพระพุทธรูปหลายชิ้น บางชิ้นแสดงลักษณะพระอุระอวบอ้วนแบบล้านนา และบางชิ้นเป็นโกลนดินพระพุทธรูปทรงเครื่องโดยยังคงปรากฏร่องรอยของมงกุฎบนพระเกศา๓๔

    การศึกษาของศักดิ์ชัย สายสิงห์๓๕ พบว่า พระพุทธรูปทรงเครื่องในล้านนานั้น น่าจะเริ่มสร้างในช่วงแผ่นดินพระเจ้าติโลกราช โดยน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากภาพเทวดาปูนปั้นที่ประดับผนังวิหารวัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอดที่พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่กระทำอัฐฐมสังคายนาใน พ.ศ. ๑๙๙๘ การพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยในครั้งนี้ นับเป็นหลักฐานประการสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าแนวคันดินดังกล่าวนั้น ควรสร้างขึ้นในช่วงหลัง พ.ศ. ๑๙๙๘ และน่าจะเป็นการสร้างขึ้นหลังการสร้างวัดหนานช้างเพื่อใช้เป็นพนังดินที่ช่วยแก้ปัญหาการไหลบ่าของน้ำปิงห่าง

    กรณีของปิงห่าง มีรายงานความก้าวหน้าการศึกษาตะกอนวิทยาของร่องน้ำที่เชื่อว่าเคยเป็นแม่น้ำปิงนั้น พบว่าเป็นเพียงร่องน้ำที่เกิดจากการขุดลอกเพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมนำเสนอผลการศึกษา ซึ่งจะเป็นประเด็นให้เกิดการเสวนากันได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น



    สรุปเรื่องเวียงกุมกาม

    จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในเวียงกุมกามที่ผ่านมา สรุปผลความก้าวหน้าได้ดังนี้

    ๑. พญามังรายสร้างเวียงกุมกามขึ้นในบริเวณชุมชนในวัฒนธรรมหริภุญไชย

    ๒. ศักราชในการสร้างเวียงกุมกาม ยังหาข้อสรุปไม่ได้

    ๓. การพบประติมากรรมปูนปั้นรูปมกรคายมังกร เป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ของอาณาจักรล้านนาและจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ที่เด่นชัด

    ๔. กลุ่มเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงกลุ่มที่ ๒ พบในไหที่ฝังอยู่ในบริเวณวัดหนานช้าง เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๑๑๖ และก่อน พ.ศ. ๒๒๐๐

    ๕. การฝังเครื่องถ้วยจีนกลุ่มที่ ๒ อยู่ในช่วงการจลาจลของบ้านเมือง และเป็นการฝังก่อนการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่

    ๖. จากลักษณะชั้นดินทับถมปนเศษโบราณวัตถุหนาแน่น และการขุดฝังไหภาชนะในชั้นดินดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าวัดหนานช้างกลายเป็นวัดร้างในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เพราะไม่พบโบราณวัตถุสมัยหลังๆ บนชั้นดินตอนบน

    ๗. การทิ้งร้างของวัดหนานช้าง จะรวมถึงการทิ้งร้างของเวียงกุมกามด้วยหรือไม่นั้น ต้องรอผลการขุดแต่งโบราณสถานอื่นๆ อีก เพราะลักษณะการถูกทับถมโดนตะกอนทรายหนาประมาณ ๑.๕ เมตร นอกจากที่วัดหนานช้างแล้ว ได้พบที่วัดกู่ป้าด้อมและวัดโบสถ์ที่อยู่ค่อนมาทางทิศตะวันตกของเมือง ส่วนโบราณสถานอื่นๆ มีการทับถมของตะกอนทรายเพียง ๐.๕-๑ เมตร เท่านั้น โบราณสถานเหล่านี้อาจมีการใช้ประโยชน์ภายหลังมหาอุทกภัยก็เป็นได้

    ภาชนะที่ผลิตขึ้นในเตาหลวงภายใต้พระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าวั่นลี่เพื่อใช้เป็นเครื่องต้นสำหรับพระจักรพรรดิและมเหสี หรือเพื่อพระราชทานแก่พระมหากษัตริย์ของดินแดนที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและได้รับการยอมรับในพระราชอำนาจจากจักรพรรดิจีนเท่านั้น

    คาดว่าถ้วยชามกระเบื้องดินเผาเหล่านี้มาจากการเจริญสัมพันธไมตรีระบบราชบรรณาการจิ้มก้องของราชอาณาจักรสยามกับกรุงจีน เพราะปีแห่งรัชสมัยว่านลี่นี้ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ล้วนมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการติดต่อกับกรุงจีนแบบระบบราชบรรณาการจิ้มก้อง และได้รับการยอมรับในพระราชอำนาจจากจักรพรรดิว่านลี่ชัดเจน ดวงตราสัญญลักษณ์เคยถูกพม่ายึดไปตอนเสียกรุงครั้งที่ 1 ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ขอดวงตราสัญญลักษณ์นี้ใหม่

    [​IMG]


    คิดว่าเครื่องกระเบื้องเหล่านี้ไปจากราชสำนักสยามไปยังเวียงกุมกามตามเส้นทางเสด็จในการเดินทัพของพระมหากษัตริย์

    ตามศิลปะร่วมสมัยกับพระองค์ท่านเห็นภาพประวัติศาสตร์ว่า เวียงกุมกามนี้น่าจะเคยเป็นที่อยู่ที่อาศัยของผู้คนในสมัยนั้น อาจจะในสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือแม้แต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม แต่แล้วผู้คนก็ต้องย้ายออกเพราะน้ำท่วมหรือเพราะศึกใหญ่มากวาดล้าง อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงโดยตัวเมืองเชียงใหม่ปัจจุบันตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง

    ลงไปทางตอนใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ จะมีตำนานวัดท่าแม่อิ ซึ่งเป็นตำนานที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกัน

    ตำนาน / ประวัติของวัดท่าใหม่อิหรือ วัดท่าแม่อิ

    วัดท่าใหม่อิ ตั้งอยู่ที่ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ในปัจจุบัน) วัดท่าใหม่อิเป็นวัดเก่าแก่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ ตำนานได้เล่าว่าพระแม่อิ พระนามแฝงของ องค์มณีจันทร์ พระชายาสมเด็จพระนเรศ ทรงเสด็จหลบภัยสงครามจากกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับข้าทาสบริวารได้เดินทางมาโดยเรือสำเภา ๓ ลำ ตามแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมาถึงปากน้ำโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ ที่เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำ ๔ สาย ปิง วัง ยม และน่าน พระแม่อิไม่รู้จะไปทางไหนดี จึงตั้งสัจจะอธิษฐานขึ้นว่า ถ้าแม่น้ำสายไหนใสกว่าเพื่อนก็จะเดินทางไปตามแม่น้ำสายนั้น พอดีแม่น้ำปิงได้ใสกว่าแม่น้ำสายอื่น พระแม่อิจึงได้ขึ้นตามลำน้ำปิง ได้หยุดพักหลายที่ จนกระทั่งมาถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งมีทำเลเหมาะสม ควรแก่การตั้งถิ่นฐาน พระแม่อิจึงได้สร้างหมู่บ้านขึ้นและได้สร้างวัด จึงเรียกวัดนั้นว่าวัดท่าแม่อิ (ปัจจุบันได้เรียกเพี้ยนเป็นชื่อว่า ท่าใหม่อิ) แล้วได้ทำการปลูกต้นโพธิ์ ๓ ต้น เป็นสัญญาลักษณ์ ปัจจุบันต้นโพธิ์มีขนาดโดยรอบ ๑๐ คนโอบ และพระแม่อิพร้อมข้าทาสบริวารได้สร้างเสนาสนะ ถาวรวัตถุหลายอย่าง ปัจจุบันนี้กาลเวลาผ่านไปจึงทำให้เกิดสภาพทรุดโทรม ใช้การไม่ได้ ดังนั้น พระมหาไพศาล ฐานวุฑโต เจ้าอาวาสวัดจึงได้ทำการบูรณะวิหารทรงล้านนาอายุหลายร้อยปี ซึ่งทรุดโทรมไปมาก ขณะนี้ได้ทำการบูรณะให้อยู่ในสภาพที่ดี และได้รักษารูปแบบของวิหารทรงล้านนาซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยาก ขณะนี้กำลังได้ทำการบูรณะซึ่งต้องใช้ปัจจัยในการบูรณะอีกเป็นจำนวนมาก จึงได้บอกบุญมายังพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้ร่วมกันสร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังได้มีผ้าป่า ณ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๒ และจะมีกฐินในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ขอกุศลทานบารมีจงบังเกิดแด่ทุกท่าน (คัดลอกจากตำนานวัดท่าใหม่อิ ในเวปไซด์ pointasia.com)

    อ่านดูแล้วมีความสัมพันธ์กับนครเชียงใหม่ทั้งเรื่องเครื่องกระเบี้องเวียงกุมกาม และตำนานวัดท่าใหม่อิ

    ข้อมูลวัดหนานช้างจากเวปไซด์ด้านล่างนี้

    www.lannaworld.com :
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2010
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวร” ในหลักฐานต่างชาติ

    ขอความนี้เคยนำมาลงไว้ที่หน้า 40 ขอนำกลับมาเพื่อประกาศพระเกียรติขององค์มหาราชผู้ยิ่งใหญ่อีกครั้ง วันพรุ่งนี้คือวันที่ 25 มกราคม อันเคยเป็นวันกองทัพไทย วันที่สมเด็จพระนเรศวรทรงชนะในการศึกสงครามยุทธหัตถี สัปดาห์นี้จึงยังถือว่าอยู่ในสัปดาห์แห่งการระลึกถึงพระมหาวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่นี้

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เครื่องกระเบื้องเคลือบสมัยราชวงศ์หมิง ลายพันธุ์พฤกษาอยู่บนตัวของโถ และลายกลีบบัวมีใส้ เขียนที่ฐาน ลายกลีบบัวมีใส้เป็นลายที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยากลางค่อนไปทางปลาย
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลวดลายประดับลายกลีบบัวมีไส้

    ที่มาของลายกลีบบัวมีไส้

    พระจักรพรรดิหวันหลี้ (ว่านลี่ , หว่านลี่ , วั่นลี่) เป็นการเรียกพระจักรพรรดิจีนตามชื่อของรัชสมัย พระนามของพระองค์คือพระจักรพรรดิเสินจง คำว่าเสินจงยังไปพ้องกับชื่อพระจักรพรรดิอีกสององค์ในสมัยซ่ง เพราะคำว่าเสินจงเป็นพระนามมงคล เหมือนพระนามสมเด็จพระสรรเพ็ชร์ ของสมัยอยุธยาก็จะมีหลายพระองค์แบบเดียวกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2010
  16. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    อนุโมทนาครับ
     
  17. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    “...60 ปีมาแล้ว ที่ รอยพระบาทของพระราชาได้ประทับไว้บนแผ่นดินไทยทุกหนแห่ง ไม่เว้นแม้ดินแดนทุรกันดารอันห่างไกลที่ไม่เคยมีใครย่างกรายไปถึง ภาพของ พระราชาผู้เป็นมหาราชของปวงชนชาวไทย ผู้ได้ละทิ้งซึ่งความสุขสบายเพื่ออุทิศพระวรกาย อุทิศพระชนมายุ และอุทิศพระราชหฤทัยของพระองค์ ทุ่มเทลงเพื่อปัดเป่าความทุกข์ และบำรุงความสุขของพสกนิกรทั้งแผ่นดิน เป็นภาพที่ประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยไม่รู้ลืม ไม่ใช่แค่เพียงคนไทยเท่านั้นที่พระมหากรุณาธิคุณขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พลิกฟื้นจนลุกขึ้นยืนหยัดอยู่บนลำแข้งของตัวเอง แต่ยังแผ่ปกไปถึงกลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร .....
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดลาดสิงห์

    วัดลาดสิงห์


    ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านสระ ริมถนนเลียบคลองชลประทาน ที่แยกจากทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๘ ประมาณ ๗ กิโลเมตร ระหว่างอำเภอดอนเจดีย์และอำเภอศรีประจันต์ เป็นวัดเก่าแก่เดิมชื่อ “วัดราชสิงห์”

    มีคำเล่าสืบทอดกันมาว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างวัดนี้ขึ้นมาภายหลังจากที่ประสบชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีและทรงทราบข่าวว่า พระสุพรรณกัลยาที่เป็นตัวประกันอยู่ที่เมืองพม่าถูกประหารชีวิต เป็นการล้างแค้นที่มหาอุปราชสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าว พระองค์จึงทรงสร้างวัดเพื่ออุทิศพระกุศลให้แด่พระสุพรรณกัลยา

    ปัจจุบันวัดยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงคือ “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปศิลาแลง ปางสะดุ้งมาร (มารวิชัย) เกตุบัวตูมอายุประมาณ ๕๐๐ ปี

    ภายในบริเวณเป็นที่ประดิษฐานของอนุสาวรีย์ ๓ พระองค์ อันได้แก่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา ให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชาในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

    จากประวัติของวัดลาดสิงห์ที่กล่าวว่า

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างวัดนี้ขึ้นมาภายหลังจากที่ประสบชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีและทรงทราบข่าวว่า พระสุพรรณกัลยาที่เป็นตัวประกันอยู่ที่เมืองพม่าถูกประหารชีวิต

    พระพี่นางสุพรรณกัลยาทรงสิ้นพระชนม์หลังจากสงครามยุทธหัตถีไม่นาน ในห้วงแห่งการระลึกถึงสงครามยุทธหัตถี ชาวไทยควรจะน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ที่ทรงเสียสละพระองค์เองเพื่อช่วยกอบกู้บ้านเมือง

    ขอน้อมระลึกถึงทั้งสามพระองค์ถึงความเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ในครานั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เพลง เทิดไท้ พระสุพรรณกัลยา

    [​IMG]




    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.774001/[/MUSIC]​

    เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา

    กัญนัทธ์ ศิริ ประพันธ์/ ขับร้อง<!-- google_ad_section_end -->


    สงวนลิขสิทธ์ มีนาคม 2552



    นึกถึงน้ำพระทัยเจ้านายผู้หญิงบอบบางพระองค์หนึ่งที่จะต้องไปผจญอยู่ในแดนศัตรูพระองค์เดียว กำลังพระทัยท่านเด็ดเดี่ยวเพียงใด เป็นเพลงที่ฟังแล้วซาบซึ้งและรับรู้ถึงความเข้มแข็งในพระทัยของพระพี่นาง

    ขอนำเพลงนี้มาร่วมประกาศพระเกียรติแห่งสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...