ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอบคุณมากค่ะสำหรับพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    นั่งจ้องมองแล้ว คิดถึงว่าพระองค์ท่านพระองค์นี้แหละที่

    ต้องฝึกฝนพระองค์เองอย่างหนักในเชิงยุทธ์เพื่อจะชิงเอาบ้านเอาเมืองคืน

    ต้องก้มหน้าอยู่ในแดนศัตรูอย่างอดสูพระทัย

    ต้องเห็นพระญาติพระวงศ์ตกเป็นเชลยในแดนศัตรู

    ต้องเสียพระทัยที่พระพี่นางต้องเสด็จไปเพื่อแลกให้พระองค์ท่านได้กลับบ้าน แต่พระพี่นางต้องจากบ้านไปแทน (น้ำตาจะไหล)

    ต้องทรงคิดว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองฟื้นคืน เพราะบ้านเมืองยามนั้นเหลือแต่โครง

    ต้องทรงเป็นผู้นำในขณะที่พระองค์ก็ยังอยู่ในช่วงรุ่น 16 ชันษา ต้องทรงเก่งกาจ เหล่าทหารเก่าจึงจะยอมรับ

    ต้องปลุกความกล้าของคนไทยในเวลานั้นที่กลัวพม่ามาก พระองค์ท่านจะต้องนำ ทรงเด็ดเดี่ยว

    ต่างชาติต่างภาษาเข้ามาท่านก็ไม่รังเกียจ พระองค์พยายามเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละชาติและคบเป็นมิตรหมด

    แม้กาลเวลาจะผ่านมานานถึงกว่า 400 ปีแล้วพระองค์ท่านก็ยังทรงห่วงประเทศชาติ

    วันนี้คุยกันถึงความเป็นกษัตริย์นั้นต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการ บางพระองค์ก็คือกษัตริยาธิราชโบราณแล้วทรงเสด็จจุติมาช่วยขจัดทุกข์เข็ญ

    แม้องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเองก็ตาม ทางสายธาตุก็ยังเชื่ออย่างยิ่งว่าพระองค์ท่านมีเชื้อสายกษัตริย์

    เพราะผู้ที่บุญญาธิการเท่านั้นจึงจะทรงในตำแหน่งสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนี้ได้

    ขอกราบแทบเบื้องพระบาทองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเบื้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    ทุกๆพระองค์ยังทรงคุ้มครองประชาชนและแผ่นดินนี้ เป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ (น้ำตาปริ่ม)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คุณโมเย เขียนอีกกระทู้นะคะ จะได้ขึ้นหน้าใหม่

    เพลงพระนเรศวรมหาราชจะได้อยู่กระทู้แรกหน้า 40

    แล้วลบความเห็นที่ 780 เพื่อให้ความเห็นนี้ของทางสายธาตุ เป็นความเห็นที่ 780 แทนนะคะ ^^

    เพลงมันตีกัน อิอิ
     
  3. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ถวายความภักดี พระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.739395/[/MUSIC]

    เพลง พระนเรศวรมหาราช

    กัญญนัทธ์ ศิริ เนื้อร้อง/ทำนอง/ ขับร้อง

    สงวนลิขสิทธ์ มีนาคม 2552
    สงวนสิทธ์ ในการนำไปใช้ในการประกอบผลทางธุรกิจ หรือหาผลประโยชน์ส่วนตน<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2010
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สายพระโลหิต

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช(หรือสมเด็จพระเอกาทศรถ?) -> สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง -> สมเด็จพระนารายณ์มหาราช -> สมเด็จพระเจ้าเสือ ->สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ->สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตามที่หลวงพ่อจรัญเล่าโปรดญาติโยม)

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช(หรือสมเด็จพระเอกาทศรถ?) -> เจ้าแม่วัดดุสิต -> เจ้าพระยาโกษาปาน -> เจ้าพระยาวรวงษาธิราช(ขุนทอง) -> พระยาราชนิกูล(ทองคำ) ->สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก(ทอง) -> พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(ทองด้วง)


    ยังหาหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ว่า แม่อิน มีลูก 2 คนเพียงแต่อ่านจากสัญญลักษณ์สีและลายดอกไม้ของเสาโบสถ์วัดชุมพล แต่ลูกแม่อินเป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแน่นอน ใครคือพระราชบิดา

    พระปรางค์น้อยเจ้าแม่วัดดุสิตอยู่ที่วัดไชยวัฒนาราม ที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสร้างถวายพระราชมารดา แม่อิน ปรางค์น้อยนี้ใครมาสร้างเพิ่มเติมภายหลังหรือ ? สร้างเพราะความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์หรือไม่ ? เจ้าแม่วัดดุสิตมีพระฐานะเป็นอะไรกับพระเจ้าปราสาทอง ?

    วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดที่ดำรงไว้ในความทรงจำของคนโบราณสมัยอยุธยาว่า เจดีย์ของพระอัครมเหสีจริงหรือไม่ ? หากจริง แม่อิน คือใครกันแน่?

    ถ้าเชื่อแผนที่ฝรั่ง วัดไชยวัฒนารามคือเจดีย์ขององค์อัครมเหสี ดังนั้น แม่อิน เคยดำรงพระฐานะที่องค์อัครมเหสีหรือ? เป็นองค์อัครมเหสีของพระองค์ใด ?

    สมเด็จพระเอกาทศรถมีพระอัครมเหสีชื่อ พระสวัสดี มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ กับ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์

    ดังนั้นมีโอกาศสูงยิ่งว่า แม่อิน คือพระอัครมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชื่อ พระนางมณีรัตนา ตามคำให้การขุนหลวงหาวัด แต่ที่มีสุวัฒน์นำหน้านั้นคงเพื่อให้เป็นมงคลนาม เหมือนชื่อของเจ้าแม่วัดดุสิต พระยศคือ ท้าวสมศักดิ์วงษามหาธาตี

    จากบทความที่เคยคาดกันว่า เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นพระธิดาของพระองค์ใด ระหว่าง

    1 สมเด็จพระมหาธรรมราชา
    2 สมเด็จพระเอกาทศรถ
    3 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    อ้างอิงเรื่องราวของเจ้าแม่วัดดุสิตที่เคยกล่าวถึงมาก่อนหน้านี้แล้วค่ะ http://palungjit.org/threads/ขอเชิญ...ด็จพระนเรศวรมหาราช.184672/page-16#post2315620

    เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ครั้งหนึ่ง เมื่อมาถึงตรงนี้หลักฐานก็มีเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ทางสายธาตุได้หลักฐานไปพร้อมๆกับเขียนกระทู้ไป เพราะตั้งแต่เรื่องพระมาลาทองคำเป็นต้นมาที่เริ่มเล่าในกระทู้นี้ เป็นการเจอพร้อมๆกันไปกับการเขียนกระทู้

    ตอนไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์วรรณกรรม (กลัวคนเอาพล็อตเรื่องไปเขียนนิยาย) ยังไปจดภายใต้ชื่อ เจ้าขรัวมเหสีจันทร์ในความทรงจำของข้าพเจ้า ตอนนั้นยังไม่เจอหลักฐานมากเท่านี้เลยค่ะ ตอนนั้นยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าพระองค์ท่านจะเป็นองค์เอกอัครมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือไม่ แต่ตอนนี้หลักฐานเริ่มมีขึ้นมาจึงเขียนต่อมาได้เรื่อยๆจนบัดนี้นะคะ

    ตอนนี้น้ำหนักของหลักฐานจึงมีมากที่จะกล่าวว่า เจ้าแม่วัดดุสิต ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันเกิดจากองค์อัครมเหสี พระนางสุวัฒน์มณีรัตนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  5. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ได้อ่านพบบทความของท่าน ศ.ดร.
    ลิขิต ธีรเวคิน เกี่ยวกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ที่คนไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่า ควรรับไว้เหนือเกล้า จึงขออัญเชิญมาไว้ในกระทู้
    เพื่อความเป็นศิริมงคลและเป็นธรรมสำหรับการดำรงตน เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พระบรมราโชวาทที่ควรรับไว้เหนือเกล้า </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>28 ตุลาคม 2552 15:14 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะทรงเป็นพระประมุข มีพระเนตรอันยาวไกล มีความเข้าพระทัยต่อสังคมไทยและการบริหารราชการแผ่นดิน พระบรมราโชวาทที่ทรงพระกรุณาให้กับประชาชนชาวไทยทั่วไป หรือต่อข้าราชการนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรรับเหนือเกล้านำไปพินิจพิเคราะห์และนำไปปฏิบัติ สิ่งซึ่งพระองค์ทรงกล่าวเน้นก็คือ ผลประโยชน์ ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ความสุขของประชาชน และการพัฒนาสังคม โดยพระองค์ท่านทรงเน้นถึงความซื่อสัตย์สุจริต การทำงานที่จริงจังการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การหลีกเลี่ยงจากการประพฤติปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาสังคมต้องแก้ด้วยภูมิปัญญา และสังคมจะพัฒนาได้นั้นจะต้องมีความสามัคคีปรองดองกัน นอกจากนั้นการแก้ปัญหาจะต้องแก้ให้ถูกทาง มิฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายและเพิ่มปัญหามากยิ่งขึ้น พระองค์ทรงเน้นถึงการกระทำสิ่งที่ถูกต้อง สร้างความยุติธรรมในสังคม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเอื้ออาทรต่อกัน ที่สำคัญที่สุด การกระทำอันใดก็ตามจะต้องเป็นการกระทำที่เกิดประโยชน์ต่อแผ่นดิน

    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากสะท้อนถึงความมีพระปรีชาสามารถในเรื่องการปกครองบริหารแล้ว ยังถือได้ว่าประหนึ่งคำสอนที่เป็นธรรมะสำหรับการดำรงตนเพื่อให้เกิดความสุขความเจริญต่อตนเอง ต่อครอบครัว แต่ที่สำคัญที่สุดคือต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม

    สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในยุคที่นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานรัฐสภา ได้มีการตัดตอนย่อพระบรมราโชวาทบางส่วนมาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท โดยมีการตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 บางส่วนของพระบรมราโชวาทที่ได้มีการยกเอาส่วนที่ครอบคลุมหัวข้อดังกล่าวมาเบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ คือ

    “...ประเทศของเรามีเอกราชอธิปไตยและความเจริญมั่นคงมาได้จนทุกวันนี้ เพราะคนไทยทุกหมู่เหล่ายึดมั่นในชาติบ้านเมือง และรู้จักทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายแต่ละคนให้ประสานส่งเสริมกัน...”

    “…การที่จะให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มีความสุขและความเจริญ ย่อมต้องอาศัยความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สำหรับผู้ที่ยังไม่เดือดร้อนนักก็ควรจะช่วยผู้ที่เดือดร้อนมากกว่า...”

    “...การดำรงรักษาชาติประเทศนั้นมิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ คน ที่จักต้องร่วมมือกระทำพร้อมกันไป โดยสอดคล้องกัน เกื้อกูลกัน และมีจุดมุ่งหมาย มีอุดมคติร่วมกัน...”

    “...ความเจริญผาสุกและความตั้งมั่นของบ้านเมือง เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่บุคคลพึงรำลึกถึงและพึงประสงค์ และความเจริญมั่นคงนั้นจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อประชาชนในชาติมีความอยู่ดีเป็นปกติสุขปราศจากทุกข์ยากเข็ญ...”

    “...ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติบริหารงานใหญ่ๆ เช่น งานของแผ่นดิน และความสามัคคีนี้จะเกิดมีขึ้นมั่นคงได้ ก็ด้วยบุคคลในหมู่ในคณะมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวผูกพันจิตใจของกันและกันไว้...”

    “...เมื่อใดมีความเข้มแข็งมีความสามัคคีก็จะทำให้บ้านเมืองมีพลังยิ่งขึ้นเมื่อนั้น เมื่อบ้านเมืองมีพลังยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะทำให้พวกเราเองมีความปลอดภัยและมีความก้าวหน้าในที่สุด”

    “...ผู้ที่ปฏิบัติงานโดยดีโดยบริสุทธิ์แล้ว ย่อมได้มีส่วนในการช่วยประเทศชาติให้อยู่เย็นเป็นสุข...”

    “...ความมีใจจริงที่ขาดไม่ได้ในการทำงานมีสองประการ ประการที่หนึ่ง คือ ความจริงใจต่อผู้ร่วมงาน ซึ่งมีลักษณะประกอบด้วยความซื่อตรง เมตตา หวังดี พร้อมเสมอที่จะร่วมมือช่วยเหลือและส่งเสริมกันทุกขณะ ทั้งในฐานะผู้มีจุดประสงค์ที่ดีร่วมกัน และในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมชาติร่วมโลกกัน ประการที่สองได้แก่ ความจริงใจต่องาน มีลักษณะเป็นการตั้งสัตย์อธิษฐานหรือการตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มกำลัง...”

    “...ถ้าเราจะเอาแต่ชนะ มันก็ต้องมีแพ้ แต่ถ้าเราปรองดองกัน มีแต่ชนะไม่มีแพ้...”

    “...การแก้ไขปัญหานั้น ถ้าไม่ทำให้ถูกเหตุถูกทาง ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง มักจะกลายเป็นการเพิ่มปัญหาให้มากและยุ่งยากขึ้น...”

    “...ประโยชน์ส่วนรวมนั้นเป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือเป็นเป้าหมายหลักในการปฏิบัติตนปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์อันยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน...”

    “...เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ทุกคนชอบที่จะทำความคิดความเห็นให้สอดคล้องกัน ร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไขด้วยเหตุและผลตามเป็นจริงบนพื้นฐานอันเดียวกัน ก็จะเห็นแนวทางปฏิบัติแก้ไขได้อย่างเที่ยงตรง ถูกต้อง และเหมาะสม...”

    “...งานรักษาความมั่นคงของประเทศเป็นงานที่กว้างขวางและละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวเนื่องถึงงานของบ้านเมืองทุกๆ ส่วน ทั้งยังต้องปรับเปลี่ยนแผนและกระบวนการปฏิบัติให้ถูกต้องทันตามสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา...”

    “...ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น คือ ความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีความเจริญให้เกิดขึ้น และระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไปอย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญแก่การปฏิบัติตนปฏิบัติงาน...”

    “...การยึดมั่นในผลประโยชน์ของแผ่นดิน และความถูกต้องเป็นธรรม เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ...”

    “...การทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ จะทำให้บ้านเมืองไทยของเราอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง...”

    “...ไม่ว่าจะปฏิบัติภาระหน้าที่อันใดทั้งส่วนน้อยส่วนใหญ่ขอให้ปรารภประโยชน์ของชาติบ้านเมืองเป็นจุดหมายสูงสุด...”

    “...เมื่อพบอุปสรรคใดๆ อย่าเพิ่งท้อแท้จะหมดกำลังใจง่ายๆ จงตั้งใจทำให้ดี คิดหาทางที่จะแก้ไขผ่อนคลายอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุผลและหลักวิชา ไตร่ตรองด้วยความสุขุมรอบคอบ และเยือกเย็นงานก็จะลุล่วงไปได้ด้วยดี...”

    “...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัว ให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้โดยแน่นอน...”

    “...ความสุขความเจริญที่แท้จริงอันควรหวังนั้น เกิดขึ้นได้จากการกระทำและความประพฤติที่เป็นธรรม มีลักษณะสร้างสรรค์ คือ อำนวยผลที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวแก่ผู้อื่น ตลอดถึงประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย...”

    “...ความทุกข์เดือดร้อนของประชาชนนั้น มิใช่เป็นความรับผิดชอบของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ที่จะต้องช่วยกันแก้ไขป้องกันโดยเต็มกำลัง...”

    “...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...”

    “...การที่จะทำงานให้สัมฤทธิผลที่พึงปรารถนา คือ ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรมประกอบด้วย...”

    “...ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีการแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดได้ดี ปฏิบัติได้ถูก...”

    “...ผู้ที่ทำงานดี มีความซื่อสัตย์สุจริตอย่าท้อใจ...”

    จากพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่ยกมาข้างต้น นอกจากจะสะท้อนถึงพระราชดำรัสอันลึกซึ้งขององค์พระประมุข ยังสะท้อนถึงความเข้าพระทัยอย่างดีในปัญหาสังคม ระบบราชการ การบริหาร

    ถ้าหากว่าประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประชาชนและสังคม นำเอาประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมาเบื้องต้นอันเป็นส่วนสำคัญของพระบรมราโชวาทที่ทรงมีไว้หลายครั้ง น่าจะเป็นแนวทางสำหรับการทำงานที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์และได้ผลในที่สุด

    มนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่องานสังคมและของประเทศชาติ อาจจะต้องตั้งตัวอยู่ในความไม่ประมาท จะต้องมีการเตือนสติตนเองถึงเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อแนวทางปฏิบัติที่ได้มีการกลั่นกรองมาแล้วเป็นอย่างดี ดังที่ปรากฏอยู่ในพระบรมราโชวาทที่กล่าวมาเบื้องต้น


    ขอขอบคุณ Daily News - Manager Online




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    สาธุ ขออนุโมทนากับคุณทางสายธาตุ ครับ
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขอขอบคุณ คุณโมเย สำหรับเพลงพระนเรศวรมหาราช เป็นศิริมงคล

    สูงสุดแก่กระทู้ "ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จ

    พระนเรศวรมหาราช" ครับ
     
  8. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
     
  9. mashima

    mashima เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2009
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +162
    ตามอ่านอยู่นะคะ
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ข่าวสมเด็จพระเทพฯ ได้รับการโหวตจากชาวจีน ให้เป็น "มหามิตร" ของคนจีน

    [​IMG]


    จากสองสามวันที่ผ่านมา นอกจากจะยิ้มที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากพระอาการประชวรแล้ว

    วันนี้ยังยิ้มได้อีกค่ะ สมเด็จพระเทพฯได้รับคะแนนโหวตกว่าสองล้านเสียง ให้เป็นมหามิตรของคนจีนเป็นอันดับสอง รองจากประธานโอลิมปิค

    หลังจากที่พระองค์ได้รับพระสมัญญาว่าเป็น "ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน"มาแล้ว เป็นข่าวที่พสกนิการไทยสุดปลื้มปิติยินดีอย่างยิ่ง และถือเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่โลกและชนสองชาติคือ ไทย-จีน ต้องจารึกไว้

    นับเป็นพระราชนิกูลพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จเยือนจีนมากที่สุด ทำให้ทรงเป็นประดุจสัญลักษณ์ของมิตรภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-จีน

    อีกทั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงสนพระทัยในภาษาจีน รวมทั้งให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของจีนอย่างมาก ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของไทย - จีน กระชับแน่นและมีความพัฒนามากขึ้นเป็นทวีคูณ

    ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกปลื้มปิติในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ได้เห็นพระจริยวัตรอันงดงามในองค์สมเด็จพระเทพฯ

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2009
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อ่านหนังสือจิ้มก้องและการค้า ได้เห็นการเมืองระหว่างประเทศในสมัยนั้น

    ขบวนการต้านชิงกู้หมิง กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคนี้

    กระจายตามหมู่เกาะน้อยใหญ่และเมืองท่าสำคัญๆ

    แกนนำหลักอยู่ที่เกาะฟอร์โมซา(ไต้หวัน)

    จะมีคนตระกูลเจิ้งเป็นผู้นำ ส่วนในประเทศสยามประเทศเวลานั้น

    คือต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะมีคนตระกูลเฉินภายใต้การนำของท่าน

    เฉินกง (ท่านผู้เฒ่าเฉิน)และลูกๆ เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวอยู่ในสยามประเทศ

    อย่างที่เคยเรียนให้ทราบเกี่ยวกับหลักการอ่านอักษรจีน ตัวเขียนเดียวกันแต่จะออกเสียงต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นนะคะ ดังนี้

    ตระกูลเฉิน (อ่านแบบจีนกลาง) = ตระกูลตั้ง (อ่านแบบจีนแต้จิ๋ว) = ตระกูลตัน (อ่านแบบจีนฮกเกี้ยน)

    แต่ยังอ่านไม่จบจึงยังไม่สามารถเขียนอะไรได้มากนะคะ
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ไทย-จีน มิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน

    อ่านจากความเห็นอาจารย์เทาชมพูในเวปไซด์เรือนไทย คนไทยไม่ถือว่าคนจีนเป็นชาวต่างชาติ เห็นได้จากการไม่ห้ามการแต่งงานกันระหว่างคนไทยกับคนจีน แต่ห้ามชาติอื่นๆ ในความเห็นอาจารย์ดังนี้

    เทาชมพู:

    เริ่มต้นจิบชา แล้วเล่าความหลัง เรื่องจีน-ไทย มิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน ดีกว่า เป็นการอุ่นเครื่อง

    จีนกับไทยเริ่มต้นติดต่อกันแต่ครั้งไหน ไม่ทราบ แต่ทราบว่าเมื่อมีอาณาจักรสุโขทัย เราก็มีการติดต่อกับจีนแล้ว หลักฐานจากการทำถ้วยชามที่เรียกว่า "สังคโลก" ไงล่ะคะ เป็นสินค้าออกขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของไทย นัยว่าได้กรรมวิธีมาจากจีน

    เคยมีความเชื่อว่าพ่อขุนรามฯเคยเสด็จไปเมืองจีนด้วย แต่หลังๆก็ไม่เชื่อกัน แต่ไม่ว่าเสด็จไปเองหรือส่งใครไปจีนก็ตาม ก็แสดงว่าจีนกับ "เซียมก๊ก" รู้จักกันมานานอย่างน้อยก็ ๗๐๐ ปีแล้ว

    ไม่พูดเรื่องความเชื่อว่าไทยเดิมอพยพมาจากจีนนะคะ เดี๋ยวจะกลายเป็นต้องถกเถียงอีกเรื่อง ไม่ใช่เรื่องสัมพันธ์จีน-ไทย

    จีนเคยส่งทูตมาถึงขอม สมัยยังเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนแหลมทอง มีบันทึกเอาไว้ คนในคณะทูตเจ้าของบันทึก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ออกเสียงว่า "เจียวต้าก๋วน" แต่ทางจีนออกเสียงอย่างไร ใครทราบช่วยบอกด้วย

    ตลอดสมัยอยุธยา จีนก็ยังติดต่อกับไทยมาตลอดด้านการค้าขาย คนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาจักรศรีอยุธยา กลมกลืนเข้ากับไทยได้ดี จนคนไทยไม่ถือว่าเป็นคนต่างด้าว เห็นได้จากกฎหมายสมัยกรุงศรีฯระบุไว้ชัดเจนห้ามหญิงไทยแต่งงานกับชาวต่างประเทศ คือ"“ ฝรั่ง อังกฤษ วิสันตา ชวา มลายู อันต่างศาสนาและเป็นมิจฉาทิฐินอกศาสนา...” แต่ไม่มีคนจีนรวมอยู่ด้วย หญิงไทยแต่งงานกับคนจีนได้เหมือนแต่งกับคนไทยด้วยกันเอง
    ลูกจีนที่ถือกำเนิดในไทย กลายมาเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย คือพระเจ้าตากสินมหาราช พระชนกมาจากตำบลไหฮอง ทางตอนใต้ของจีน ว่ากันว่าแซ่แต้ พระมารดาคือท่านนก***************ง คนจีนเรียกมหาราชพระองค์นี้ว่า "แต้อ๋อง"

    เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ไทยกับจีนก็ยัง "เจริญสัมพันธไมตรี" กันด้วยดี ต่อเนื่องจากสมัยอยุธยา ไทยส่งคณะทูตไปจีนเกือบจะทุกปี เป็นพวกขุนนางสังกัดกรมท่าซ้าย ตำแหน่งขุนนางบางตำแหน่งคนจีนผูกขาด อย่าง "ขุนท่องสื่อ" คนอื่นไม่มีสิทธิ์เป็น เพราะท่องสื่อคือล่าม ขุนท่องสื่อก็คือล่ามจีนที่เข้ารับราชการไทย

    เจ้ากรมท่าซ้าย สมัยนี้คงจะเรียกว่าอธิบดี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐี คือใครมารับตำแหน่งนี้ก็ได้เป็นพระยาโชฎึกฯกันทุกคน เป็นหัวหน้าคนจีนในไทย มีหน้าที่ดูแลด้านการค้าขาย การทูตกับจีนและควบคุมดูแลคนจีนในไทยด้วย พระยาโชฎึกฯบางคนก็เก่งเรื่องหนังสือ มาช่วยแปลเรื่อง "สามก๊ก"

    เชื้อสายที่สืบมาจากพระยาโชฎึกราชเศรษฐี เท่าที่พบหลักฐาน มีอย่างน้อย ๒ สกุลที่ได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ ๖ คือ "โชติกเสถียร" สืบมาจากพระยาโชฎึกฯ(เล่าเถียน) และ โชติกะพุกกะนะ สืบมาจากพระยาโชฎึกฯ (พุก)ค่ะ

    ย้อนกลับมาเรื่องไมตรีไทย-จีน มีข้อเข้าใจที่กลับตาลปัตรกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ไทยเราคิดว่า เราส่งคณะทูตไป "เจริญสัมพันธไมตรี" แต่ทางจีนเข้าใจว่า อาณาจักรเราส่งทูตไป "อ่อนน้อม" เป็นเมืองขึ้น เรียกว่า "จิ้มก้อง" ในเมื่อสื่อสารกันตามความเข้าใจของตัวเอง ต่างคนต่างก็ติดต่อกันมาด้วยดีไม่มีใครรังเกียจรังงอนจนสิ้นรัชกาลที่ ๔

    เคยถามอาจารย์ประวัติศาสตร์ว่า เรามีความจำเป็นอะไรจะต้องไป "เจริญสัมพันธไมตรี"บ่อยนัก ในเมื่อค้าขายก็ทำกันได้คล่องๆมาตั้งแต่อยุธยา อาจารย์บอกว่าเป็นธรรมเนียมจีนที่ว่า เมื่อบ้านเมืองไหนมาอ่อนน้อมถวายบรรณาการ โดยมารยาทฮ่องเต้จะต้องตอบแทนน้ำใจด้วยบรรณาการที่สูงค่ามากกว่าที่ให้มา และสิ่งที่ทางฝ่ายไทยนับเป็นของดีจากจีน คือแพรไหมที่จีนทำได้สวยงามมาก เราเอามาตัดเป็นเสื้อขุนนางไทยใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ
    ด้วยความที่เราไป "เจริญสัมพันธไมตรี" กับจีนได้ผลดีแบบนี้ ไทยจึงขยันส่งทูตไปจีนแทบจะทุกปีจนจีนต้องบอกว่าน้อยๆหน่อยไม่ต้องมาถวายบรรณาการบ่อยนักก็ได้

    ความมาแตกเอาตอนต้นรัชกาลที่ ๕ เมื่อจีนทราบว่าไทยผลัดแผ่นดิน ก็มีพระราชสาส์นมาว่าให้ "อ๋อง" องค์ใหม่ไปจิ้มก้องตามธรรมเนียม คราวนี้ล่ามจีนฝ่ายไทยแปลได้ถูกต้อง ไทยเลยรู้ว่าเข้าใจกันคนละทางมาตลอด พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงงด "การเจริญสัมพันธไมตรี" กับจีน แต่การค้าขายยังทำกันด้วยดีเหมือนเดิม ก็ไม่เห็นฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงว่าอะไรนะคะที่ไทยไม่ได้ไปแบบทางการอีก

    เรามารื้อฟื้นสัมพันธไมตรีเป็นทางการอีกครั้งก็ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ค่ะ

    ป.ล. แซ่แต้ เป็นเสียงอ่านแบบแต้จิ๋ว ก็คือ แซ่เจิ้ง ตามเสียงอ่านแบบจีนกลางนั่นเอง

    ความสัมพันธ์จีน-ไทย มิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ติดดาวที่ชื่อเพราะระบบคัดกรองมังคะ

    จะเขียนชื่อท่าน น ก เ อี้ ย ง นะคะ

    ส่งอีกทีจะได้ดาวอีกหรือไม่ เพี้ยง
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ฉากขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาค 3

    [​IMG]


    ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ภาค 3 และ 4 “สงคราม ยุทธหัตถี” เดินหน้าถ่ายทำอย่างต่อเนื่อง “ผู้พันเบิร์ด-แอฟ” พร้อมนักแสดงสมทบกว่า 1,000 คน ร่วมฉากใหญ่ “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค” สร้างเรือพระที่นั่ง พร้อมเรือร่วมขบวนอย่าง สมพระเกียรติ โดยใช้เวลาในการสร้างเรือกว่า 1 ปี เพื่อความสวยงาม อลังการ และสมบูรณ์แบบที่สุด

    [​IMG]


    “เบิร์ด-พ.ต. วันชนะ สวัสดี” ผู้รับบท “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ในภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” กล่าวถึงฉากกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคว่า “สำหรับฉากนี้เป็นฉาก ต่อเนื่องจากที่ข้ามแม่น้ำสะโตงในภาค 2 ที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงเสด็จจากเมืองพิษณุโลก กลับมาที่กรุงศรีอยุธยาทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้เทครัวกวาดต้อนชาวบ้าน พร้อมเสบียงมาด้วย ซึ่งความยิ่งใหญ่ของฉากนี้ นอกจากจะมีนักแสดงเข้าร่วมขบวนเรือจำนวนมากแล้ว ท่านมุ้ยยังได้สร้างเรือที่ใช้ในการเข้าฉากเลียนแบบของจริงจำนวน 6 ลำ เช่น เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ มีความยาว 40 เมตร ใช้ฝีพายประมาณ 70 คน,เรือเอกไชยเหินหาว ยาว 30 เมตรใช้ฝีพาย 46 คน, เรือเอกไชยหลาวทอง, เรือรูปสัตว์ เป็นต้น”

    [​IMG]


    ส่วนความประทับใจในการเข้าร่วมฉากยิ่งใหญ่ฉากนี้ ผู้พันเบิร์ด กล่าวต่อว่า “ที่เป็นความประทับใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีการพายเรือ ที่มีระเบียบแบบแผนที่คนไทยเคยเห็นจาก พระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ท่านมุ้ยต้องการให้ฉากนี้ออกมาเหมือนจริง และยิ่งใหญ่มากที่สุด จึงขอให้ผู้เชี่ยวชาญจากกองทัพเรือเข้ามาดูแล และฝึกซ้อมวิธีการพายเรือพระที่นั่งของฝีพายประจำเรือที่เป็นนักแสดงประกอบ ที่รับบทโดยทหารจากกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ซึ่งนักแสดงทุกคนมีความภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้เข้าร่วมแสดงฉากนี้”

    [​IMG]


    ผู้พันเบิร์ดเล่าถึงการถ่ายทำในครั้งนี้ว่า “การถ่ายทำในวันนั้นทุกคนล้วนมีความอดทนอย่างมาก แม้อากาศจะร้อน และต้องนั่งอยู่ในเรือตลอดทั้งวัน เขาก็ไม่มีบ่นกัน นอกจากความยิ่งใหญ่แล้ว สิ่งที่ยากที่สุดของฉากนี้ คือ การบังคับเรือให้อยู่กับที่ เพราะในกองถ่าย พร้อมมิตร ฟิล์ม สตูดิโอ จ.กาญจนบุรี ลมแรงมาก กว่าจะกำหนดจุดจอดได้ต้องใช้เวลาครับ”

    [​IMG]


    มาที่ด้านนางเอกของเรื่อง “แอฟ-ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ” รับบท “มณีจันทร์” ที่ร่วมเดินทางจากเมืองพิษณุโลกกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยนั้น
    แอฟได้เผยว่า“ฉากนี้เป็นฉากที่มณีจันทร์เดินทางมาทางเรือพร้อมกับสมเด็จพระนเรศวร เพื่อจะกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา โดยระหว่างที่เดินทางสมเด็จพระนเรศวรจะกังวลเรื่องการศึกมาก เพราะมีเวลาเตรียมกองทัพน้อย มณีจันทร์ก็จะคอยให้กำลังใจ พร้อมกับเป็นคู่คิดในการศึกด้วย”

    [​IMG]


    “ซึ่งฉากนี้แอฟว่าความสวยงามอยู่ที่เรือพระที่นั่ง ที่ท่านมุ้ยทรงสร้างได้อย่างเหมือนจริง อลังการมาก อยากให้ทุกคนได้ดูกันค่ะ แต่เห็นสวยงามอย่างนี้ ตอนถ่ายทำทรมานมาก เพราะเราถ่ายในน้ำ แสงพระอาทิตย์ที่ส่องลงมาทำให้น้ำระยิบระยับ แสบตามาก แต่ก็สู้ค่ะ”

    [​IMG]


    ภาพยนตร์เรื่อง“ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”เป็นภาพยนตร์ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ให้แก่วงการภาพยนตร์ไทยในหลายด้าน ทั้งการนำเทคนิคพิเศษรูปแบบใหม่จากต่างประเทศมาใช้ในการก่อสร้างฉาก และจัดทำอุปกรณ์ประกอบฉาก ที่ช่วยประหยัดทั้งเวลาแรงงาน และค่าใช้จ่าย รวมถึงงานด้านแสงเสียงพร้อมการสร้างสรรค์และจัดทำ visual effects, special effects ตลอดจนการใช้ computer graphics ที่โดดเด่น

    นอกจากนี้ยังได้นำเข้าม้าจากต่างประเทศที่ได้รับการฝึกฝนและดูแลเป็นพิเศษเพื่อแสดงภาพยนตร์แนว action โดยเฉพาะ โดยในภาค 1 และ 2 มีทีมผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง ในแต่ละด้านจากหลายประเทศมาช่วยถ่ายทอดความรู้และเทคนิคให้แก่ทีมงานคนไทย ซึ่งดำเนินการต่อในภาค 3 และ 4 อันเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการสร้างภาพยนตร์ไทยให้ทัดเทียมต่างประเทศ ทั้งยังมีการคิดค้นและปรับประยุกต์เครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการถ่ายทำ

    [​IMG]

    ขอบคุณ : "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" สุดอลังการ! “ท่านมุ้ย” จำลองฉากยิ่งใหญ่เหมือนจริง “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค"

    สวยดีค่ะ นำมาชมกันวันหยุด

    ในรัชสมัยของพระองค์มีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เท่าที่สืบค้นได้ 3 ครั้งนะคะ อ้างอิงรายละเอียดเรื่องนี้ที่หน้า 9 ความเห็นที่ 170-174 ของกระทู้นี้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2009
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ถนนพระยาพระคลัง ย่านการค้าบาร์ซาร์แห่งกรุงศรีอยุธยา

    ทำไมจึงแปล Barcelon ว่าพระยาพระคลัง ในแผนที่หน้า 38 ทางสายธาตุลืมบอกที่มาที่ไป

    C : Rue da Barcalon = Street of Praklang = ถนนพระยาพระคลัง

    เอาข้อมูลมาจากหนังสือ จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน โดย ดร.สารสิน วีระผล หน้า21

    จึงทำให้ทางสายธาตุเอา Barcelon มาแปลชื่อถนนเส้นนี้เป็น ถนนพระยาพระคลัง ซึ่งมีร้านค้าขายของหรูหราจากต่างประเทศตั้งอยู่บนถนนเส้นนี้


    สืบค้นตำแหน่งบ้านรับแขกเมืองของพระยาพระคลัง

    หมอแกมเฟอร์ เขียนเล่าต่อว่า ขบวนเรือแล่นเลียบกำแพงพระนครขึ้นไปตามลำน้ำสักประเดี๋ยวหนึ่ง ก็เลี้ยวไปสู่บ้านของท่านพระยาพระคลัง อันเป็นที่ซึ่งท่านออกรับแขกเมืองอย่างสง่าสมเกียรติ เราขึ้นบกทางด้านนี้ และเดินต่อไปจนถึงบ้าน ลานบ้านอยู่ค่อนข้างจะสกปรกและอับๆ แต่ยังดีกว่าบ้านอีกแห่งหนึ่งของท่าน ซึ่งเราได้ไปเยี่ยมคำนับท่านเป็นส่วนตัวมาแล้วก่อนหน้านี้ 2-3 วัน พอเข้าไปในบริเวณลานบ้าน เราก็เห็นเรือนหรือห้องเปิดโล่งหลังหนึ่งอยู่ทางซ้ายมือทำเกือบเป็นรูปจัตุรัส ไม่มีผนัง พื้นปูกระดาน มีคนอยู่เต็ม บ้างก็นั่ง บ้างก็เดินคุยกัน ทางขวามือเห็นช้างเชือกหนึ่ง ผูกครบยืนอยู่ในโรง ตรงกันข้ามกับทางเข้ามีบันไดหินขึ้นสู่เรือนพระยาพระคลัง
    บันทึกของหมอแกมเฟอร์ ตอนนี้บอกให้เรารู้ว่า ขบวนเรืออัญเชิญพระราชสาสน์มี 6 ลำ จัดเรียงขบวนกันเป็น 1 : 3 : 1 : 1 โดยที่ขบวนเรือแล่นเลียบกำแพงพระนครขึ้นไปในชั่วเวลาไม่นาน ก็เลี้ยวไปสู่บ้านของพระยาพระคลัง



    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ภาพขยายจากแผนที่ข้างต้น คือ ส่วนของคลองประตูเทพหมีที่เห็นรูปลำคลองมีความโค้งเหมือนคันธนู ตรงส่วนกลางของคลองเป็นสะพานวานร ในภาพเขียนนี้มีช่องใต้สะพานจำนวน 5 ช่อง เป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดและปัจจุบันยังมีสภาพเป็นสะพานที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดของบรรดาสะพานโบราณทั้งหลายของพระนครศรีอยุธยา บนสะพานคือถนนคนเดินที่เชื่อมโยงพื้นที่ระหว่างฟากตะวันออกกับตะวันตกของพื้นที่ตอนใต้ ของพระนครศรีอยุธยาในอดีต</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ภาพเขียนสีน้ำมันสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย โยฮันเนส วิงโบนส์ จิตรกรชาวดัชท์ ภาพนี้เขียนขึ้นราวปี พ.ศ.2208 ตามความประสงค์ของบริษัทอินเดียตะวันออก ฮอลันดา (VOC) ในภาพแสดงรูปพรรณสัณฐานของกรุงศรีอยุธยา ทางตอนล่างของภาพคือ คลองประตูเทพหมีสถานที่ตั้งมหาวิทยาราชภัฏพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    ถ้าเราสร้างจินตนาการภาพประกอบกับการคิดเชิงเหตุผลในลักษณะของความเป็นไปได้ ก็จะเห็นภาพของเรือแล่นทวนกระแสน้ำเจ้าพระยาเลียบกำแพงเมืองด้านทิศใต้ผ่านคลองนายก่าย (คลองมะขามเรียงในปัจจุบัน) ขบวนเรือแล่นเลียบกำแพงอีกชั่วประเดี๋ยวเดียวก็ถึงคลองน้ำสายใหญ่ ถึงตรงนี้ขบวนเรือเลี้ยวขวาเข้าประตูใหญ่ของคลองน้ำที่ชื่อว่าคลองประตูเทพหมี หรือคลองประตูเทษมี ซึ่งเป็นคลองน้ำที่ใหญ่ที่สุดของกรุงศรีอยุธยา ดูจากในภาพเขียนของฝรั่ง สะพานวานรหรือสะพานเทพหมีมีช่องใต้สะพานอยู่ 5 ช่อง ซึ่งสะพานโดยปกติจะมีช่องส่วนนี้อยู่เพียงช่องเดียวหรือสามช่องเท่านั้น ขนาดความยาวของสะพานก็คือขนาดของความกว้างของคลอง ดังนั้นคลองประตูเทพหมีจึงน่าจะมีความกว้างประมาณ 12 เมตรเศษ ซึ่งพอเพียงที่จะให้เรือ ในขบวนอัญเชิญพระราชสาส์นเคลื่อนขบวนเรียงสาม เข้ามาได้

    คลองที่ถัดไปอีกหนึ่งคลองคือคลองฉะไกรน้อย มีขนาดเล็กกว่ากันมาก คลองนี้อยู่ด้านตะวันออกของวัดบรมพุทธาราม ซึ่งคลองฉะไกรน้อยนี้ขบวนเรือคงจะเข้าไปไม่ได้ทั้งหมดเว้นแต่ว่าจะเข้าไปทีละลำ ฉะนั้นขบวนเรือคงจะไม่ได้ไปขึ้นบกที่คลองฉะไกรน้อย เนื่องจากคลองฉะไกรน้อยอยู่ไกลออกไปอีกมากด้วย ในบันทึกบอกว่าสักประเดี๋ยวหนึ่ง

    ขบวนเรืออัญเชิญพระราชสาสน์จอดเทียบท่า หรือสะพานที่เชิงสะพานวานรแล้วขบวนแห่พากัน เดินขึ้นบกไปตามทางเดินเพื่อไปยังบ้านรับแขกเมืองของพระยาพระคลัง ซึ่งในแผนที่ฝรั่งยุคปลายกรุงศรีอยุธยา จะมองเห็นแนวทางเดิน (ถนน) นี้เป็นถนนที่เชื่อมต่อระหว่างสะพานวานรกับสะพานหน้าวัดบรมพุทธาราม อย่างชัดเจน
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรื่องเจ้าหน้าที่การค้าและคนงานตามท่าเรือต่างๆในการติดต่อการค้า ตอนแรกทางสายธาตุคิดว่าคงเป็นเพียงกำลังเจ้าหน้าที่การค้าและคนงานของครอบครัวไจ้เซี่ยง(ไจ้เซี่ยงเป็นตำแหน่งทางการของท่านอัครมหาเสนาบดี ข้าราชการระดับสูง ได้รับป้ายหยกยู่อี่ เป็นชั้นยศพิเศษ เข้าใจว่าท่านน่าจะเปลี่ยนแซ่จากจางเป็นเฉินเพื่อความปลอดภัย เหมือนที่ท่านฉี่ยี่กง องค์ชายสองแห่งราชวงศ์ชิง ที่เปลี่ยนจากแซ่อ้ายซินเจี๋ยหลอ เป็นแซ่ ฉี)

    เจ้าหน้าที่การค้าและคนงานตามท่าเรือต่างๆที่เข้าใจว่ามีเพื่อประสานงานด้านการค้าเท่านั้น พออ่านหนังสือจิ้มก้องและกำไร คิดว่าเจ้าหน้าที่การค้าเหล่านี้คงมีหน้าที่อย่างอื่นในทางการเมืองสมัยนั้นด้วย จึงกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคซึ่งการใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการการค้านี้มิใช่น้อยและคิดว่าแต่ละท่านคงมีอุดมการณ์ร่วมกัน

    ตอนไปฮ่องกง ศาลเจ้าแห่งหนึ่งมีชื่อเสียงมากคือ ศาลเจ้าท่านแชก้ง อ่านออกเสียงแบบกวางตุ้งแบบนี้ แชแปลว่ารถ ก้งแปลว่าท่านผู้เฒ่า ท่านเป็นขุนพลทหารสมัยราชวงศ์หมิง ลี้ภัยจากราชวงศ์ชิงบนแผ่นดินใหญ่ไปอยู่ที่เกาะฮ่องกง และทุกวันนี้ชาวฮ่องกงและมาเก๊าเคารพท่านเป็นเทพเจ้าคุ้มครองเกาะฮ่องกง คนฮ่องกงเชื่อว่าถ้ามาเซ่นไหว้ท่านแชก้งทุกปีๆแล้ว พายุจะไม่เข้าเกาะฮ่องกง ซึ่งก็จริงนะคะ ไม่เคยได้ยินว่าพายุใหญ่พัดเกาะฮ่องกงจนเสียหายหนักสักที ขุนทหารราชวงศ์หมิงท่านหนึ่งก็คือ ท่านแชก้งแห่งเกาะฮ่องกง นี่แหละค่ะ แต่ไม่ทราบว่าจะอยู่ในยุคเดียวกับท่านอัครเสนาบดีหรือไม่นะคะ

    ตอนนี้ทางสายธาตุพอจะเห็นและรู้สึกได้ว่า เจ้าขรัวมณีจันทร์นั้นพระองค์ท่านทรงอิทธิพลในด้านการค้าและกองกำลังพอสมควร และมากพอที่จะอภิบาลพระองค์บัวและพระองค์ไลให้ปลอดภัยได้ภายใต้ภาวะคับขันต่างๆที่เกิดขึ้นในเวลานั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2009
  17. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทศกาลกินเจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการล่มสลายของราชวงศ์หมิงด้วยค่ะ คิดว่าชาวฮั่นในช่วงนั้นคงทุกข์ใจกันมาก การกินเจเป็นการกินอุทิศกุศลให้บ้านเมืองของตนด้วยมังค่ะ เท่าที่พอจะรู้ เจ้าขรัวฯเองทรงกินเจตลอดพระชนม์ชีพเหมือนกัน คงเพื่ออุทิศให้ทั้งสองแผ่นดิน แผ่นดินบ้านเกิด และแผ่นดินที่อาศัยอยู่

    คัดบางส่วนเรื่องความเชื่อกำเนิดเทศกาลกินเจจาก

    http://blog.eduzones.com/jipatar/print.php?content_id=10174

    คนราชวงศ์หมิงคงทุกข์ใจมากเป็นทุกข์ของคนไม่มีแผ่นดิน แต่สุดท้ายรัฐบาลแห่งชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่นก็ได้กลับมาปกครองจีนดังเดิม

    เป็นตัวอย่างอันดีให้ชาวไทยดู หากไม่รู้รักสามัคคี ไม่รักแผ่นดิน หากสูญเสียไปแล้วจะร้องไห้อย่างไรก็จะไม่มีวันหวนคืน
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อาจจะเป็นเช่นที่พี่จงรักภักดีวิเคราะห์ไว้ค่ะ และคิดว่ากองกำลังเหล่านี้ก็เตรียมพร้อมหากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะออกรบทางทะเล ที่พระองค์ท่านทรงส่งราชสาส์นไปจีนเรื่องจะไปปราบโจรสลัดญี่ปุ่นถึงเกาะญี่ปุ่น กองกำลังทางทะเลเหล่านี้ก็พร้อมจะสนับสนุน เป็นที่มาที่นักวิชาการหลายคนสงสัยว่า ทำไมกองทัพไทยจึงมีกำลังกระจายอยู่ตามเกาะแก่งในทะเลด้วย คงเป็นความร่วมมือของกองกำลังเหล่านี้นี่เอง พร้อมเป็นกำลังให้กองทัพไทยเมื่อต้องใช้งานค่ะ
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    “ความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวร” ในหลักฐานต่างชาติ

    “ความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวร” ในหลักฐานต่างชาติ


    พระปรีชาสามารถตลอดจนเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรนั้น ดูจะเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารของฝ่ายไทยเอง และงานนิพนธ์ยุคต่อมา อาทิ “ลิลิตตะเลงพ่าย” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส หรือ “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    ทว่าความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรไม่ได้เป็นที่รับรู้เพียงแต่ชาวสยามเท่านั้น ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งบันทึกโดยชาวต่างชาติที่เข้ามามีความสัมพันธ์กับอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ก็ได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไว้ด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าบันทึกเหล่านั้นบอกเล่าความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไว้อย่างไรบ้าง


    การปกครองเข้มงวดที่สุดนับตั้งแต่เคยมีมาในสยาม

    ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดา และรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรเอง พระองค์ได้ทรงปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าประชาชนอย่างเข้มงวดจนฝังแน่นอยู่ในความทรงจำของผู้คน


    ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2182 ซึ่งบันทึกโดย เจเรเมียส ฟานฟลีต (วันวลิต) ชาวดัตช์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (V.O.C.) ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองความว่า

    “...ชาวมลายูขนานนามพระองค์ว่า “ราชาอปี” (Raadje Apij เป็นภาษามลายูแปลว่า พระเจ้าอัคคี) และชาวสยามขนานพระนามว่า “องค์ดำ” รัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่ปกครองแบบทหารและเข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมาในสยาม...”

    ซึ่งสิ่งที่วันวลิตบันทึกไว้คงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดไปจากความเป็นจริงเท่าใดนัก เนื่องจากในเวลานั้นเป็นช่วงที่กรุงศรีอยุธยาต้องรับศึกจากกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรจึงจำเป็นต้องทำการปกครองอาณาจักรอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กรุงศรีอยุธยา และความเข้มงวดของพระองค์นี่เองที่ได้ทำให้อาณาจักรอยุธยาฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง

    ดอกผลของความเข้มงวดคือกองทัพที่ไร้ผู้ต่อต้าน

    จุดพลิกกลับของการทำสงครามเพื่อกอบกู้บ้านเมืองของสมเด็จพระนเรศวรนั้น อยู่ที่สงครามกับพระเจ้านันทบุเรงในปีพ.ศ.2128-2130 โดยแกสแปโร บัลบี (Gasparo Balbi) พ่อค้าอัญมณีชาวเวเนเทียน (Venetian) ได้กล่าวถึงผลจากความเข้มงวดในการปกครองของสมเด็จพระนเรศวรที่ก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ไพร่พลในการรบกับทัพหงสาวดีไว้ในรายงานของเขาว่า

    “...ชาวสยามไม่เคยหวั่นเกรงอีกเลยในเรื่องที่ว่า พระเจ้าหงสาวดีพระองค์นี้จะเอาชนะพวกเขาได้ เพราะพระราชบิดาของพระองค์ (บุเรงนอง) ที่เคยเอาชนะชาวสยามได้นั้น, แม้จะได้นำทัพมาด้วยพระองค์เองและมีกำลังไพร่พลถึง ๘๐๐,๐๐๐ คน ก็คงไม่สามารถเข้ายึดพระนครศรีอโยธยาได้, ถ้าไม่ใช่เพราะการที่ขุนนางสยามหักหลังกันเอง...”


    หลักฐานทางฝ่ายพม่าเองก็ได้ยอมรับถึงพระราชอำนาจของสมเด็จพระนเรศวรกับความเข้มงวดที่มีต่อขุนนางและไพร่ฟ้าประชาชน จนก่อให้เกิดกองทัพที่แม้ฝ่ายหงสาวดีจะมีกำลังมากกว่าหลายเท่าก็ยากจะเอาชนะได้ ดังข้อความตอนหนึ่งที่พญาลอ แม่ทัพฝ่ายหงสาวดีได้กราบทูลพระเจ้านันทบุเรงความว่า

    “...แม้กำลังไพร่พลของพระนครศรีอโยธยาจะนับได้สักหนึ่งในสี่ของไพร่พลเมืองหงสาวดีก็หาไม่, แต่กระนั้นก็ตาม, สมเด็จพระมหาอุปราชและนายทัพนายกองก็ได้ประจักษ์ความจริงแล้วว่าเป็นเรื่องยากนักที่จะรบชนะชาวสยาม เพราะว่าพระราชอำนาจของสมเด็จพระนริศ (พระนเรศวร) ที่มีเหนือขุนนางของพระองค์นั้น ยิ่งใหญ่เป็นล้นพ้นจนกระทั่งว่า ถ้าชาวสยามเผชิญหน้ากับข้าศึกศัตรู เขาก็ยอมสละชีวิตดีกว่าจะยอมถอยหลัง. อันว่าการสงครามนั้นใช่ว่าจะได้ชัยชนะเพราะมีไพร่พลมากกว่าเพียงประการเดียว หากอยู่ที่ความกล้าหาญและชาญเชี่ยวในยุทธวิธี...”

    การฟื้นตัวของอาณาจักรสยาม

    ปีเตอร์ วิลเลียมสัน ฟลอริส (Peter Williamson Floris) ชาวดัตช์ผู้เป็นลูกจ้างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (E.I.C.) ซึ่งเข้ามาในสมัยต้นพระเจ้าทรงธรรม กล่าวถึงการฟื้นตัวของอาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรไว้ในจดหมายเหตุของ
    เขาว่า

    “…นี่คือเรื่องราวย่อๆ เกี่ยวกับความพินาศลงของอาณาจักรพะโค (หงสาวดี) ในขณะที่ราชอาณาจักรสยามฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้เสื่อมโทรมลงไปมาก เพราะพะโคได้เข้ามาเป็นเจ้าเข้าครอง. พระองค์ดำทรงปราบปรามกัมพูชา, ล้านช้าง, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, ปัตตานี, ตะนาวศรี, รวมทั้งแว่นแคว้นและอาณาจักรอื่นๆ เข้าไว้ในอำนาจ. ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๑๔๘ พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ลง โดยมิได้มีพระราชโอรส พระองค์ทรงมีพระสติปัญญาล้ำเลิศ และได้ทิ้งพระราชอาณาจักรไว้แก่สมเด็จพระอนุชาธิราช...”

    โดยพระนาม “พระองค์ดำ” (Black King) นั้นเป็นพระนามที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ใช้กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวร ควบคู่ไปอีกพระสมัญนามในภาษามลายูซึ่งฟลอริสได้บันทึกไว้ว่า “Raja Api” ซึ่งมีความหมายว่า “พระราชาแห่งไฟ”

    กองทัพเรือสยามที่เป็นใหญ่เหนือน่านน้ำ

    นอกจากหลักฐานต่างชาติฝ่ายตะวันตกที่ได้อธิบายถึงความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรแล้ว ยังมีหลักฐานทางฝ่ายจีนอีกเช่นกันซึ่งได้ฉายภาพความของความยิ่งใหญ่ของรัชสมัยของพระองค์ไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกองทัพเรือ

    บันทึกของจีนสมัยราชวงศ์หมิงในช่วงรัชศกว่านลี่แห่งรัชกาลจักรพรรดิเสินจง (พ.ศ.1911 – 2187) มีเรื่องราวเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรปรากฏในบันทึกของจีน 3 ฉบับดังนี้

    1.เจิ้งสือ (ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฉบับหลวง) ในส่วนที่ว่าด้วยสยาม ได้บันทึกตอนหนึ่งว่า

    “...กษัตริย์ผู้สืบราชสมบัติ (สมเด็จพระนเรศวร) ได้หมายมั่นจะแก้แค้นให้จงได้ ในระหว่างรัชศกว่านลี่กองทัพข้าศึกได้ยกทัพเข้ามาอีก กษัตริย์ได้จัดกองทัพเข้ากระหน่ำตีจนข้าศึกแตกพ่ายไปราบคาบ และได้ฆ่าราชโอรส (พระมหาอุปราชมังกะยอชวา) ของกษัตริย์ตงหมานหนิวด้วย (พระเจ้านันทบุเรง) ทหารที่เหลือก็แตกทัพหลบหนีไปในความมืดตอนกลางคืน จากนั้นเป็นต้นมาสยามก็ครองความยิ่งใหญ่ผงาดในน่านน้ำทางทะเล...ครั้งนั้นญี่ปุ่นเข้าย่ำยีเกาหลีในโอกาสเดียวกันนี้ สยามได้เข้าถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชฑูตประเทศนี้ขออาสาส่งกองทัพเข้าช่วยทำศึกสงคราม...”

    2.สือลู่ (จดหมายเหตุประจำรัชกาล) บันทึกตอนหนึ่งว่า

    “...เมื่อวันที่ 6 เดือนอ้าย ปีที่ 21 (พ.ศ.2136) แห่งรัชศกว่านลี่..มีฑูตบรรณาการมาขออาสาต่อทางกลาโหมขอนำกองทัพช่วยทำศึกสงคราม..อั
    นฑูตบรรณาการแห่งสยามมีความโกรธแค้นต่อการกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรมนี้จึงได้แสดงความจงรักภักดีโดยอาสายกกองทัพไปช่วยรบ จักรพรรดิทรงมีพระบรมราชโองการให้ชมเชยความจงรักภักดีและเมตตาธรรมเช่นนี้...”

    3.บันทึกทะเลตะวันออกและตะวันตกของจางเซี่ย ยกย่องว่า

    “...รัชกาลพระนเรศวรนั้น สยามเริ่มเป็นผู้เกรียงไกรบนท้องทะเลแดนไกล ต่อแต่นั้นไปทำศึกสงครามทุกปีจนสามารถดำรงความเป็นใหญ่เหนือประเทศทั้งหลาย...”

    โดยสาเหตุที่กองทัพเรือในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมีความเข้มแข็งนั้น เพราะต้องปกป้องการค้าในระบบรัฐบรรณาการที่ส่งเรือสำเภาหลวงของราชสำนักสยามไปยังประเทศจีนอยู่เสมอ ทั้งยังต้องคอยปราบโจรสลัดที่คุกคามความปลอดภัยในการเดินเรือของพ่อค้า และจากความเข้มแข็งอันนี้เองที่ทำให้สยามกล้าทูลส่งกองทัพไปช่วยจักรพรรดิจีนรบกับญี่ปุ่นซึ่งนำโดยโชกุนโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ซึ่งนำกองทัพเข้ารุกรานเกาหลี ทว่ากองทัพเรือสยามก็ไม่ได้ออกไปช่วย เพราะราชสำนักหมิงเห็นว่า ลำพังกองทัพจีนก็น่าจะเพียงพอแล้ว



    บ้านเมืองรุ่งเรือง เพราะทรงเป็นนักรบ

    ความยิ่งใหญ่ของรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรนั้น อาจเป็นเพราะพระองค์ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งสอดคล้องกับวิกฤตการณ์ของบ้านเมือง และเพื่อค้ำจุนแผ่นดินพระองค์ได้ใช้เวลาเกือบทั้งรัชสมัยของพระองค์อยู่ในสนามรบ ดังความตอนหนึ่งที่วันวลิตเขียนไว้ในบันทึกของเขาว่า

    “พระนเรศราชาธิราชเป็นพระเจ้าแผ่นดินนักรบ ทรงได้ชัยชนะในการรบหลายครั้งคราว...ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา เสวยราชย์อยู่ ๒๐ ปี แต่ไม่ได้ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเกิน ๒ ปีเลย เวลาที่เหลืออยู่อีก ๑๘ ปี ทรงใช้ในการทำสงครามและประทับอยู่ในสถานที่ดังกล่าว...”

    และวันวลิตก็ได้บรรยายถึงประโยคสุดท้ายเกี่ยวกับรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวร เป็นประโยคสั้นๆง่ายๆ แต่แสดงถึงบ้านเมืองที่รุ่งเรืองว่า

    “...ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเจริญรุ่งเรืองและประสบแต่โชคชัย...”


    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยิ่งใหญ่ เป็นทั้งนักรบและนักปกครองที่เก่งกาจมาก




     

แชร์หน้านี้

Loading...