เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ต้องไปคู่กัน จะเกินกว่ากันมิได้ ท่านเห็นเป็นเช่นไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย โป๊ยเซียน, 27 มกราคม 2009.

  1. โป๊ยเซียน

    โป๊ยเซียน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +5
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 0mm; MARGIN-BOTTOM: 2mm; LINE-HEIGHT: 170%" borderColorDark=#79052c width="100%" align=center borderColorLight=#804000 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=481>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=361>
    [​IMG]คลิกขวาเมนู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    ว่าด้วย เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
    แสดงสมถะและวิปัสสนา เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายก็จะเห็นจุดประสงค์ของการปฏิบัติทั้ง ๒ กล่าวคือ เจริญสมถะเพื่อเจโตวิมุตติ เพื่อการอบรมจิตให้ระงับในกิเลสราคะ เพื่อยังประโยชน์ กล่าวคือ นำจิตที่ตั้งมั่น เนื่องจากสภาวะไร้นิวรณ์ และราคะ(กามฉันท์ ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)มารบกวนจากการสอดส่ายฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง หรือสภาพที่ถูกยึดมั่นไว้ด้วยอุปาทาน จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนปัญญาในการคิดพิจารณาธรรมให้เห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง กล่าวคือ พึงยังให้เกิดปัญญาวิมุตติขึ้นนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้ละอวิชชาเป็นที่สุด.
    [​IMG]
    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
    หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ
    <CENTER>จบพาลวรรคที่ ๓ </CENTER>
    http://www.nkgen.com/387.htm


    ********************
    เจโตวิมุตติ(บรรลุด้วยกำลังการหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิต)
    <!-- Main -->มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)
    [๓๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธารามเขตพระนคร
    กบิลพัสดุ์ในสักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตร-
    *จีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับ
    จากบิณฑบาตภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้ากาล-
    *เขมกะ ศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน สมัยนั้นแล ในวิหารของเจ้า
    กาลเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มีพระภาคทอด
    พระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระดำริดังนี้ว่า ในวิหาร
    ของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นี่มีภิกษุอยู่มาก
    มายหรือหนอ ฯ
    [๓๔๔] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรมอยู่
    ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก
    ที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ แล้วประทับนั่ง
    ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์
    ว่า ดูกรอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้
    มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ ฯ
    ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    จีวรกาลสมัยของพวกข้าพระองค์กำลังดำเนินอยู่ ฯ
    [๓๔๕] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลี
    กัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง
    ร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการ
    คลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่
    บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุข
    เกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่
    ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่
    พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไป
    สงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็น
    ฐานะที่มีได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน
    ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วม
    หมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่
    กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว
    หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโต-
    *วิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิด
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็น
    อย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว ฯ
    [๓๔๖] ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์
    ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
    เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ
    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว
    ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
    ทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้
    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่
    เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    [๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ
    จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
    สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
    ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
    เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
    ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน
    สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน
    จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยัง
    ไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
    ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
    จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิต
    ยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
    ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน
    ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อม
    ใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อม
    ใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่าง
    นี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อม
    ไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่าง
    ภายในนั้นได้ ฯ
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
    จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็น
    เช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อม
    แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อม
    เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ
    [๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
    น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา
    และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็น
    อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ
    ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเรา
    ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ
    ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
    เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอ
    ย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
    เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อม
    ใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของ
    ชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้าง
    เรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง
    เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง
    เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่อง
    ชนบทบ้าง เรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องถนนหนทางบ้าง เรื่องทาสี
    ในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้าง
    เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง ด้วยอาการนี้แล
    เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้
    ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อ
    ความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อ
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของ
    ของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่อง
    สมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็น
    อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อม
    ใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของ
    ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไป
    เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการ
    นี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตก
    เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความ
    สิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสา
    วิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ
    [๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
    รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
    เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้
    ได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
    เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรอานนท์ นี้แล กาม
    คุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล
    ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
    อายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล
    ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
    อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัด
    พอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า
    ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
    หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอัน
    เธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ
    [๓๕๐] ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็น
    ผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
    อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้
    ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ
    ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ
    แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ
    แห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่
    ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล
    เป็นอันเธอ
    รู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ
    ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว ไกลจาก
    ข้าศึก เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความ
    ข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตาม
    ศาสดา ฯ
    ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้า
    พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มี-
    *พระภาคเป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้
    แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว
    จักทรงจำไว้ ฯ
    [๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง
    สุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวก
    เธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว
    ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา
    เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่
    การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อ
    ดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    คือ
    เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภ
    ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณ-
    *ทัสสนะ ฯ
    ดูกรอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัททวะของอาจารย์อุปัททวะของศิษย์
    อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
    [๓๕๒] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกร
    อานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้
    ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง เมื่อศาสดานั้น
    หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
    จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน
    เข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมา
    เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัททวะด้วย
    อุปัททวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่
    มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป
    ได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้ ฯ
    [๓๕๓] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกรอานนท์
    สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะ
    อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
    และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี
    ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี
    ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น
    จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่า
    ศิษย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของศิษย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุ
    เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา
    มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลอุปัททวะของศิษย์
    ย่อมมีได้ ฯ
    [๓๕๔] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
    อย่างไร ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ
    ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว
    เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
    ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีก
    ออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพา
    กันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน
    เข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่
    เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล
    เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามตถาคตผู้ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้
    ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้น
    หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
    จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พา
    กันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมา
    เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัททวะ
    ด้วยอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุ
    เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา
    มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของผู้
    ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ ในอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
    มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์
    ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้อง
    เราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ
    ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ฯ
    [๓๕๕] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็น
    ข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรม
    วินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม
    แก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
    เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติ
    หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้อง
    ศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร ฯ
    [๓๕๖] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร
    ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก
    ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่า
    สาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติ
    หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้อง
    ศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ฯ
    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร
    อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ
    สุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ
    เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆ
    จึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาสุญญตสูตร ที่ ๒

    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=khunz&date=04-08-2007&group=3&gblog=3



    *****************

    บทความข้างต้นเราเห็นว่ามีความจำเป็นทั้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ต้องควบคู่กัน โดยอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเด่นกว่ามิได้
    เจโตวิมุตติ คือ จิตหลุดพ้น การปฏิบัติฌานสมาบัติ ถึงขั้น อรูปฌาน จนจิตหลุดพ้น เพราะจิตตั้งมั่น คลายความกำหนัด ห่างไกลจากกิเลศ
    ปัญญาวิมุตติ คือ แจ้งด้วยปัญญา ให้หลุดพ้น คือ การเจริญสติ วิปัสสนา เป็นอาจิณ เพื่อการหลุดพ้น

    แม้เจโตวิมุตติ จะเป็นอรูปฌานก็จริง แต่การที่จะไม่ติดในอรูปฌาน ก็คือการเจริญวิปัสสนา ควบคู่กัน การเจริญวิปัสสนา จนเกิดปัญญา รู้แจ้งในสัจธรรม ในส่วนของเจโตคือส่วนที่ปฏิบัติเพื่อจิตหลุดพ้นนั้น เหตุผลเพราะผู้ที่ปฏิบัติฌานสมาบัตินั้น มีจิตตั้งมั่น มีธรรมผุดขึ้น จนรู้แจ้งในสัจจธรรม
    แต่แม้จะเจริญวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว ก็ยากอยู่ เพราะในส่วนของจิตนั้นยังไม่หลุดพ้น เพราะการตั้งมั่นในส่วนของฌานนั้นไม่มี

    ทั้งจิต และ กาย
    ไม่ยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเรา เพราะเข้าใจด้วยประการฉะนี้

    ;aa24
     
  2. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    เริ่มต้นต่างกัน
    ท้ายสุดเหมือนกัน
    สมถะนำ หรือ วิปัสสนานำ ตามสะดวก
    เมื่อถึงความวิมุตติ ก็ไม่อาจแยกได้ว่า เจโตวิมุตติ หรือ ปัญญาวิมุตติ
    เนื่องจาก มรรค ย่อมต้องบริบูรณ์เหมือนกันหมด
    หาไม่แล้ว การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ธรรมไม่สัมปยุตที่องค์สัมมาสมาธิ
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ...ขอต่อ ท่านจรแล้วกัน ...
     
  4. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    อ้าว งั้นเราขอฟังอย่างเดียว อิอิ

    ;aa10
     
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เป็นเรื่องสนับสนุนกัน ไม่ใช่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งแบ่งแยกเป็นจำพวก

    เจโตวิมุตติ นี้จะเกิดด้วยอาศัยปัญญาเป็นกำลังด้วย
    ปัญญาวิมุตติ ก็จะเกิดด้วยการอาศัยกำลังสมาธิเป็นกำลังด้วย

    เจโตวิมุตติ จะเกิดกับพระอริยะที่มี สัมมาสมาธิ
    ปัญญาวิมุตติ จะเกิดกับพระอริยะเพราะมีสัมมาทิฎฐิ

    จะพวกใดพวกหนึ่งไม่ได้ แต่ทีนี้ กำลังสมาธิของพระอริยบางท่านก็ยังมีกำลังไม่มากพอ แต่ปัญญามาก ท่านก็ดับกิเลสได้ แยกให้ออกนะ ระหว่างกำลังของสมาธิกับสัมมาสมาธิ

    พระอริยะมีสัมมาสมาธิเหมือนกัน แต่อาจจะมีกำลังสมาธิต่างกัน
    พระอริยะมีสัมมาทิฎฐิเหมือนกัน แต่อาจจะมีปัญญาละเิอียดต่างกัน

    บางท่าน ที่บอกว่า เจโตวิมุตติ ท่านก็ต้องมีปัญญาโลกุตระ จึงจะมีเจโตวิมุตติได้
    ปัญญาวิมุตติ นี้จะต้อง กำหนดรูปนาม และ เดินวิปัสสนา อย่างแท้จริง ไปจนถึงว่า วางสังขารในใจได้ เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ อบรมจนแจ้งขึ้นมา เป็น วิุมตติญาณทัสนะ

    ก็ ต้องควบคู่ไป
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ
    ----------------------------------------------------

    เคยได้อ่านผ่านตามา ว่า การรู้แจ้งอริยสัจจ์4 จะต้องได้ทั้ง เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ
    คิดว่า ถ้าทำถูกทาง ถูกวิธี ตรงตามที่พระพุทธองค์สั่งสอน ย่อมไม่หลง
    และทำได้ตรงในจริตส่วนตน ย่อมสำเร็จได้ในทั้ง2ทาง
    ถ้าไม่ติดวิปัสนูกิเลส ไปซะก่อน ย่อมถึงเป้าหมายที่ตั้งใจ ไม่เนิ่นช้า
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ขึ้นชื่อว่า กุศล ชำนาญอะไรก็ทำไปเถอะ จะวิปัสสนาเก่ง ก็วิปัสสนาไป
    จะ ทำสมาธิเก่งก็ทำสมาธิไป แต่ต้องทำให้ครบ ทั้งวิปัสสนาและสมาธิ

    และทำให้ถึง กำจัดกิเลส นี้สำคัญ จะวิปัสสนาเก่ง ดูจิตเก่ง แต่พอมีกิเลสผุดขึ้นไม่เคยสู้กับมัน ไม่เคยพิจารณาไปถึงต้นตอสาเหตุ มันก็เป็นสีลพตรปรามาสไป

    หรือ สมาธิเก่ง แต่พอเจอกิเลส ยิ่งเป็นเชื้อให้กิเลส นี่หนักไปอีก ก็เป็นสีลพตรปรามาสไป

    คือ ฝึกมาทำมา ช่วยอะไรไม่ได้เลย โมโห ยังเท่าเดิม โง่ยังเท่าเดิม
    รักโลภ โกรธ หลงยังเท่าเดิม แบบนี้เป็นสีลพตรปรามาส

    ทำอะไรก็ ให้มี สัมมาสังกับปะ คือ ดำริ ออกจากกิเลส นี้เป็นข้อที่สองของมรรค
    แต่ว่า คนเราไม่มีข้อนี้ คือ ไปตั้งสัมมาทิฎฐิ เห็นรูปนาม แต่ขาดข้อที่สอง ก็ เป็น สีลพจตรปรามาสอยู่
     
  9. god-war

    god-war สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +1
    คุณขันธ์ พูดได้ดีครับ เป็นอย่างนั้นแหละครับ ต้องควบคู่กันไปครับมีแต่สมาธิ ไม่มีปัญญา ก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ ไม่สามารถพาข้ามฝั่งได้ครับ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    การติดวิปัสสนูกิเลส นี้ไม่น่ากลัวเท่าำพวก กิเลสหนา
    กิเลสหนา มีสีลพตรปรามาสมาก นี้ มันปิดทางหมด
    คือ กูเชื่อของกูแบบนี้ กูจะดันไปในแบบนี้ ผิดก็ช่างมันไม่เห็นเป็นไร

    ใน วินัยของพระสงฆ์ จะมีการปลงอาบัติ คือ ให้สำนึก ให้สำรวจ ข้อผิดพลาด และจะไม่ทำมันอีก ด้วยการประจานตนเอง กับพระท่านอื่น ใครมันจะขาดหิริโอตตัปปะ ปลงอาบัติบ่อยก็ให้มันรู้ไป

    ทีนี้ ฆราวาส เราไม่มีการปลงอาบัติ ก็ควร ขอขมาต่อ พระรัตนไตรบ่อยๆ ตั้งจิตว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็น บาป เป็นอกุศล เราจะตั้งใจว่า จะพยายามละลดเลิก มัน

    นี้ก็เป็นกุศโลบาย ที่จะทำให้คน ลดทิฎฐิมานะลงไป ทำให้มาก ทำให้บ่อย เรื่องทิฎฐิมานะนี้ ตัวสำคัญ มานะตัวเดียวนี้ไม่เท่าไร เพราะเป็นการชอบเปรียบเทียบว่า เราดีกว่า เขาไม่ดีกว่า

    แต่มันมักจะมี ริษยา ผูกโกรธ เข้ามาปน ริษยานี้ ไม่ใช่มานะเสียแล้ว แต่เป็นกิเลสทั้งดุ้น ไม่ใช่ สังโยชน์ มานะ เพราะมานะนี้ ดีกว่า ไม่ดีกว่า เฉยๆ แต่พอเป็นริษยา ผูกโกรธ มันก็จะกลายเป็น การมองสิ่งอื่นไม่ดีผิด ไม่ถูก ไม่ตรง พลอยเป็นการเกลียดในวิถีอื่น ปิดบังความจริงไปหมด

    นี่ดูตรงนี้ให้ดี
     
  11. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ใช่ค่ะ ท่านขันธ์ ส่วนหนึ่งที่หนูเข้าใจ ปัญญาของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ขึ้นอยู่กับสัมมาทิฎฐิที่จะยอมรับฟัง และยอมรับในส่วนข้อผิดพลาด กิเลศของตัวเอง ส่วนไหนถูกก็ยอมรับฟัง สิ่งไหนไม่ถูกก็แย้งกันได้ อยู่ที่ความเห็น เพื่อประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฉะนั้นสัมมาทิฎฐิจึงจำเป็นที่สุด มนุษย์ทุกคนถึงจะอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข เพราะกิเลศแต่ละคนไม่เท่ากัน
     
  12. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ส่วนข้อบกพร่องของเราเอง เราก็ยินดีที่จะแก้ไข หากผิดพลาดประการใด ก็ยอมรับฟัง ด้วยสัมมาทิฎฐินี่แหล่ะค่ะ
     
  13. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,713
    ค่าพลัง:
    +51,941
    *** สัจจะทำเป็นสัจจธรรม ****

    จะทำสิ่งใด ก็ต้องมีสัจจะ
    ถ้าขาดสัจจะ...ความหมายไม่มี

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,713
    ค่าพลัง:
    +51,941
    การกระทำ...
    ทำได้ กับ ทำไม่ได้
    ผู้ทำได้...ตัวที่ทำได้ ก็อยู่กับผู้ทำได้
    ผู้ทำไม่ได้....ตัวที่ทำไม่ได้ ก็ตามติดไปกับผู้ที่ทำไม่ได้

    การกระทำ...ของใครของมัน
    เป็นตัวกระทำ ที่มันไม่ตาย
    อนาคตจะเป็นอย่างไร ก็อยู่ที่ตัวกระทำของตนเอง
    เพราะตัวกระทำไม่ตาย เป็นสัจจธรรม

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  15. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ช่วยเอาตัวทำได้ไปซะทีได้ไหม รำคาญมันมาก ทำอยู่นั้น -*- เบื่อ
     
  16. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,713
    ค่าพลัง:
    +51,941
    ถ้า...ติดในสูตรในวิธี
    ก็ต้องมาเกิดใหม่ เพื่อกลับมาเอาสูตรเอาวิธี

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    สาธุ การฟังและทบทวน เป็น ธรรม
    แต่ถ้าฟังแล้ว ไม่ทบทวน แล้ว แย้ง ไม่รับ นั่นเป็นกิเลสในใจ

    การโต้ธรรม คนละเรื่องกับ การไม่รับฟัง และ การเถียง

    ก็ลองสำรวจดูว่า นี่เรามีกิเลส หรือเปล่า เวลาทำอะไรเรามีกิเลส ไม่รับฟังคนอื่นหรือเปล่า
    เมื่อ มันมีอยู่ ก็ถามว่า แล้วมันเป็นอะไร ทำไมจะต้องไม่รับฟัง ง่ายๆ ก็อ่านข้อความคนอื่น คนที่โต้แย้งเรา เหมือนกับเราเป็นผู้พิพากษา เราก็จะเห็นอย่างตรงๆ แบบนี้เรียกว่า ใช้หลักธรรม แต่ถ้า เขาพูดอย่างหนึ่ง เราตีความไปอย่าง ไม่รับฟัง เถียงนั่นนี่ เพื่อให้ตนเองถูก ให้เขาผิด แบบนี้ ลองถามตนเองว่า ไอ้ความรู้สึกแบบนี้มันเกิดขึ้นมาไหม มันมีไหม แล้วมันขึ้นมาได้อย่างไร นี้แหละเราจึงจะเจอ ตัวกิเลส

    อย่างขจรนี่ บ้าอย่างไร ก็อย่างนั้น ไม่เคยสำรวจปรับปรุง สงสัยว่าเป็น อรหันต์แล้ว จริตเดิมออกมาหมด เลยไม่ต้องแก้ไข แต่ ใครอย่าไปกระทบเชียว ไม่ฟังอรรถฟังธรรมเลย เถียงไปร้อยแปด เป็นพัลวัน ถ้าเถียงด้วยอรรถด้วยธรรมก็ว่าไปอย่าง แต่เถียงไปนั่นไปนี่ ไม่มีหลักเกณฑ์

    แบบนี้เรียกว่า กิเลสหนา เป็นต้น
     
  18. neung48

    neung48 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +457
    ไม่เสมอกันก็ไม่กลางอะจิ อิอิ
     
  19. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,713
    ค่าพลัง:
    +51,941
    ตัดนิสัย ตัดอารมณ์ได้...ก็เกิดเป็น ตัวกระทำที่ทำได้
    เมื่อ ตัดได้หมด....ตัวกระทำทั้งหมดตั้งแต่ต้น ก็จะจัดสรรไม่ต้องมาเกิดใหม่
    เข้าถึงที่สุด คือ นิพพาน

    นิสัย อารมณ์ ถ้าเราไม่ตัดเอง แล้วใครจะมาตัดให้เรา
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    นั่นแหละถูกแล้ว ดีแล้ว ต้องทำให้มาก

    ปัญหามันมีอยู่ว่า แล้ว จะทำอย่างไรจึงจะตัดได้ มันยากเย็นจริงๆ

    มันก็ต้อง ค่อยๆ ทำ เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เอา สติปัฎฐานเป็นชัยภูมิ ตามที่พระอาจารย์มั่นท่านสอนไว้ นั้นแหละ

    คือ สติ นี้คอยกำหนดรู้ แรกๆ ก็ต้องฝึกให้รู้ หยาบๆ แล้วค่อยพัฒนาไปสู่ละเอียด แล้วค่อยๆ พัฒนาไปสู่ว่า นี้คือ กุศล นี้คือธรรม นี้คือ ผัสสะ นี้คือ เวทนา นี้คือ จิต นี้คือธรรม
    แล้ว แยก กอง อกุศล ออกจากกุศล เอาให้เห็น แล้วจึงจะใช้ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่อบรมดีแล้ว มาละอกุศล เลือกทำแต่กุศล ทำจิตให้ผ่องใส

    นี่แหละ ต้องฝึกทั้งสิ้น จะมานั่งเข้าใจเฉยๆ ไม่ได้ ไม่พอ ไม่ลึกไม่ละเอียด
     

แชร์หน้านี้

Loading...